การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โรคของมะม่วง

โดยทั่วไปแล้ว มะม่วงเป็นพืชที่ค่อนข้างทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคพืชหลายชนิด  และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ผันแปรอย่างรวดเร็วได้ดีพอสมควร  แต่ในเรื่องของปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงแล้ว  มีโรคพืชหลายชนิดที่ทำลายความเสียหายโดยทำให้ผลผลิตลดลงหรือไม่มีผลผลิตเลย  และทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ  ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ  และนอกเหนือจากนั้นยังเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ หากปัญหาโรคต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้รับการเอาใจใส่  และแก้ไขอย่างถูกวิธี  สำหรับโรคของมะม่วงเท่าทีพบในประเทศไทยก็มีอยู่มากมายหลายชนิด  บางชนิดก็ทำความเสียหายให้อย่างรุนแรง  บางชนิดก็ไม่ทำความเสียหายมากนัก  ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

1.  โรคแอนแทรคโนส
โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของมะม่วง  ทำความเสียหายต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วงไม่ว่าจะเป็นต้นกล้ายอดอ่อน  ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังเก็บเกี่ยว  เชื้อราชนิดนี้นอกจากจะทำความเสียหายกับมะม่วงแล้ว  ยังสามารถทำให้เกิดโรคกับพืชอื่นได้อีกหลายชนิด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา องุ่น เป็นต้น  จึงทำให้มีการระบาดของโรคอย่างกว้างขวางในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ  โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน  ซึ่งมีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมระหว่าง 24-32 องศาเซลเซียส  เชื้อรามีสาเหตุทำให้เกิดอาการอย่างน้อยก็เป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใน กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะทำให้เกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยว และร่วงหล่น  ช่อดอกแห้ง ไม่ติดผล ผลเน่าร่วง ตลอดจนผลเน่าหลังเก็บเกี่ยว  ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อการส่งมะม่วงไปจำหน่ายต่างประเทศ  หากไม่ได้รับการดูแลรักษาไม่ให้เชื้อโรคติดไปกับผลผลิต
ลักษณะอาการ
ในระยะกล้า จะพบอาการของโรคได้ทั้งที่ใบและลำต้น  ซึ่งทำความเสียหายให้กับการผลิตมะม่วงกิ่งทาบเป็นการค้ามาก  เพราะต้นกล้าที่เป็นโรคจะอ่อนแอหรือตายไปไม่สามารถจะใช้ทำเป็นต้นตอได้  อาการบนใบเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ บนใบอ่อน มองดูใสกว่าเนื้อใบรอบ ๆ จุดนี้ จะขยายออกเป็นวงขนาดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชื้นและความแก่อ่อนของใบ  โดยจะเห็นขอบแผลชัดเจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม  ในสภาพความชื้นสูง  แผลที่เกิดบนใบอ่อนมาก ๆ จะมีขนาดใหญ่  ขยายออกได้รวดเร็ว และมีจำนวนแผลมากติดต่อกันทั้งผืนใบ  ทำให้ใบแห้งทั้งใบ  หรือใบบิดเบี้ยวเมื่อแก่ขึ้น เพราะเนื้อที่ใบบางส่วนถูกทำลายด้วยโรคในสภาพที่อุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะสม และบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดขนาดเล็ก กระจัดกระจายทั่วไป  บริเวณกลางแผลซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อนกว่าขอบแผล  และมีลักษณะบางกว่าเนื้อใบ อาจจะฉีกขาดและหลุดออก เมื่อถูกน้ำทำให้แผลมีลักษณะเป็นรู คล้ายถูกยิ่งด้วยกระสุนปืน  ส่วนอาการที่ลำต้นอ่อนจะเป็นแผลสีค่อนข้างดำ  ลักษณะแผลเป็นรูปไข่ ยาวไปตามความยาวของลำต้น หากอาการโรครุนแรงและต้นกล้าอ่อนมาก ๆ แผลจะขยายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งรอบลำต้น ทำให้ต้นแห้งตาย แต่ถ้าต้นกล้าเป็นโรคเมื่อเนื้อเยื่อเริ่มแก่แก้ว  แผลก็อาจจะลุกลามไปได้ไม่มากนัก  จะเป็นจุดแผลมีลักษณะเป็นวงรี สีดำ ยุบตัวลงไปเล็กน้อยบริเวณกลางแผลจะเห็นเม็ดสีดำ ๆ หรือสีส้มปนบ้างเรียงเป็นวง ๆ อยู่ภายในแผล  ซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุต้นกล้าที่เป็นโรคจะอ่อนแอ เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่  หรืออาจตายไปในที่สุด  ถ้าโรคนี้เกิดกับยอดอ่อนก็จะทำให้ยอดแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ และอาจตายทั้งต้นได้เช่นเดียวกัน
ในระยะต้นโต เชื้อโรคจะเข้าทำลายได้รับใบอ่อน ยอดอ่อน หรือช่อดอก โดยจะทำให้เกิดลักษณะอาการคล้าย ๆ กับที่ร่วงหล่น  ผลที่มีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่แก่ก็เป็นโรคได้เช่นเดียวกัน  หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม  กล่าวคือมีความชื้นสูง และอุณหภูมิพอเหมาะ(24-32 องศาเซลเซียส) ลักษณะอาการบนผลจะเป็นจุดสีดำ  รูปร่างกลม หรือรี ขนาดอาจจะพบรอยแตก  และมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงรายเป็นวงภายในแผล  ซึ่งอาการจุดบนผลนี้ ชาวสวนมะม่วงแถบบางคล้าเรียกว่าโรค “โอเตี้ยม” ซึ่งหมายถึงจุดสีดำเมื่อมะม่วงเริ่มแก่  ในระหว่างการบ่มหรือการขนส่ง  จุดแผลเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และลุกลามออกไปทำให้ผลเน่าทั้งผลได้  อาการจุดเน่าดำบนผลนี้พบทำความเสียหายกับมะม่วงเกือบทุกพันธุ์  หากมีสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม  โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง  สำหรับภาคกลางเช่นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มักจะมีฝนตกนอกฤดูในราวเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม  ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงใกล้แก่  หากเกษตรกรไม่ได้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชทันท่วงที ก็จะทำให้ผลผลิตมะม่วงได้รับความเสียหายจากโรค  ผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราโรคแอนแทรคโนสอย่างรุนแรง  นอกจากนี้แล้ว  เชื้อราโรคแอนแทรคโนส  ยังสามารถติดอยู่กับผลได้โดยไม่ทำให้เกิดลักษณะอาการหากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม  และจะไปแสดงอาการเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ผลสุก หรือมีความชื้นสูงในระหว่างการเก็บรักษาหรือในหีบห่อที่บรรจุเพื่อการขนส่ง  เป็นต้น  ซึ่งก็ทำความเสียหายเป็นอย่างมากได้เช่นเดียวกัน
การป้องกันกำจัด
โรคแอนแทรคโนสสามารถป้องกันกำจัดได้โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด ซึ่งการใช้สารเคมีเป็นวิธีการเดียวที่จะลดความเสียหายจากโรคนี้ได้อย่างรวดเร็ว  และทันต่อเหตุการณ์ ถึงแม้ว่ามะม่วงแต่ละพันธุ์จะมีปฏิกิริยาต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสแตกต่างกันออกไปบ้างก็ตาม แต่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้ว  เชื้อราสามารถเข้าทำลายทำความเสียหายต่อใบ ดอก และผลของมะม่วงที่ปลูกเป็นการค้าได้ทุกพันธุ์  และการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชนั้น  จะต้องใช้ให้ถูกกับจังหวะการเข้าทำลายของเชื้อโรค  ทั้งนี้  เพื่อลดความสิ้นเปลืองและช่วยให้สารเคมีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การฉีดพ่นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแตกใบอ่อน  ในช่วงการออกดอกและติดผล  ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคเป็นต้น  สารป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด  สามารถนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เบนโนมิล(benomyl), คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์(copper oxychloride) เป็นต้น  ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดในแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สารเคมีประเภทดูดซึม  เช่น  เบนโนมิล(benomyl) อาจจะใช้ได้ดีกว่าในการฉีดพ่นในช่วงที่มีฝนชุก  หรือในช่วงผลใกล้เก็บเกี่ยว เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวด้วย  นอกจากนี้  ช่วงเวลาการฉีดพ่นของสารเคมีประเภทดูดซึม จะนานกว่าการใช้สารเคมีประเภทสัมผัส (contact หรือ conventional) ซึ่งช่วงเวลาการฉีดพ่นสารเคมีโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10-15 วัน
การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสสำหรับมะม่วงที่จะผลิตเพื่อการส่งออกนั้น จะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอโดยในช่วงที่มะม่วงผลิใบอ่อนในฤดูฝน  การฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสที่ใบสำหรับแหล่งที่มีโรคแอนแทรคโนสระบาดเป็นประจำเพื่อลดความเสียหายจากการเกิดโรคที่ใบ  อันจะมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของใบและจะมีผลต่อการออกดอก  ติดผลที่สมบูรณ์ต่อไป  นอกจากนั้นยังเป็นการลดปริมาณเชื้อราโรคแอนแทรคโนสในแปลงปลูกได้เป็นอย่างดี การตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและกิ่งอ่อนที่เกิดตามโคนกิ่งใหญ่ในทรงพุ่ม  ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเผาทำลายเสีย  ก็เป็นการลดปริมาณเชื้อโรคได้อีกวิธีหนึ่ง
ก่อนที่มะม่วงจะเริ่มแทงช่อดอก ควรทาการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืชครั้งหนึ่ง  เพื่อลดปริมาณแมลงและโรคที่จะมารบกวนช่อดอกใหม่ที่เริ่มผลิ  หลังจากนั้นควรทำการฉีดพ่นเป็นระยะ ๆ ทุก 10-15 วัน จนกระทั่งมะม่วงติดผลอ่อน ในระหว่างที่ผลมะม่วงกำลังเจริญเติบโตระยะเวลาการฉีดพ่นสารเคมีอาจจะนานขึ้น  ซึ่งขึ้นกับแหล่งปลูกที่มีการระบาดของโรคแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศและสภาพการปลูกถี่ปลูกห่าง  ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 14-15 วัน  ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึม  เช่น เบนโนมิล(benomyl) อีกครั้งหนึ่ง  จะช่วยลดความเสียหายจากการเกิดผลเน่าหลังเก็บเกี่ยวได้เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีประเภทดูดซึมชนิดที่ใช้เฉพาะกลุ่มเชื้อ เช่น เบนโนมิล(benomyl) นั้นไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ เพราะเชื้อรามีโอกาสที่จะสร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้ง่าย  ดังนั้นในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคในช่วงออกดอกติดผลมะม่วงนั้น  ควรใช้สารเคมีชนิดอื่น ฉีดพ่นสลับกันบ้างตามความเหมาะสม  เช่น ระยะดอก อาจจะใช้ แมนโคเซบ(mancozeb)หรือ เบนโนมิล(benomyl) ระยะติดผลอ่อนใช้ แคปแทน(captan)หรือ คอปเปอร์ฟังจิไซด์(copper fungicides) ระยะผลโตใช้ เบนโนมิล (benomyl) เป็นต้น
2.  โรคราแป้ง
โรคราแป้งของมะม่วง เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง พบระบาดทั่ว ๆ ไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศต่าง ๆทั่วโลกในประเทศไทยส่วนใหญ่พบเป็นกับมะม่วงที่ปลูกในที่สูงบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae Benthet  ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้ทั้งที่ใบ ดอก ช่อดอกและผลอ่อน แต่บริเวณที่ราบภาคเหนือ  ภาคกลาง ภาคตะวันออก นั้นพบอาการของโรคที่ดอกและผลเท่านั้นไม่พบลักษณะอาการบนใบเลย
ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรกจะเกิดที่ใบอ่อน  จะเห็นบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลายจะมีสีผิดปกติไปจากสีของเนื้อใบเล็กน้อย  ถ้าสังเกตดูจะเห็นลักษณะผงสีขาวขึ้นบาง ๆ ส่วนใหญ่จะพบใต้ใบ  อาการต่อมาบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีเหลืองจาง ๆ ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะเป็นผงสีขาว ๆ ชัดเจนขึ้น หลังจากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มขึ้นตามลำดับ  ซึ่งใบก็จะเริ่มแก่มีสีเขียวเข้มตัดกับบริเวณเป็นโรคซึ่งมีสีน้ำตาลแก่ ในระยะนี้อาจจะเห็นผงสีขาวใต้ใบหรือบนใบแต่จะไม่ขึ้นฟูเหมือนในระยะใบอ่อน  ถ้าเกิดโรครุนแรงใบที่เป็นโรคอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงไป
อาการที่ช่อดอก  จะเห็นผงสีขาวขึ้นฟู ตามก้านชูดอกและก้านช่อดอกย่อย  และดอกซึ่งจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดผล  ส่วนของก้านช่อดอกจะยังคงมีสีขาวปกคลุม  ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ โรคนี้มักจะพบในช่วงฤดูหนาวเมื่อมะม่วงเริ่มออกดอก  ในราวเดือนธันวาคม  มกราคม แต่อาจจะพบอาการของโรคได้จนถึงเดือนเมษายน  ซึ่งช่อดอกที่เป็นโรคนี้มักจะไม่ติดผลและมักจะพบเป็นกับช่อดอกที่อยู่บริเวณตอนล่างหรือกลาง ๆ ลำต้น  หรือช่อดอก ที่อยู่ในพุ่มใบสำหรับในบ้านเราจะพบอาการโรคราแป้งที่เกิดบนใบเฉพาะมะม่วงที่ปลูกในที่สูงมาก ๆ ส่วนในพื้นที่ราบจะพบเพียงแต่ระบาดทำลายในช่วงออกดอกติดผลอ่อนเท่านั้น
การป้องกันกำจัด
สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ได้แก่ กำมะถันผล, ไดโนแคป(dinocap), เบนโนมิล (benomyl) ไตรอะไดเมฟอน (triadimefon) ฯลฯ การป้องกันกำจัดโรคราแป้งที่ระบาดในระยะมะม่วงออกดอกทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่ดอกยังไม่บานครั้งหนึ่ง  สำหรับกำมะถันผง ควรจะฉีดพ่นในตอนเช้าขณะที่แดดยังไม่ร้อนจัด  หากยังมีโรคระบาดอยู่ ก็ควรฉีดอีกครั้ง  ในระยะติดผลอ่อน
3.  โรคราดำ
โรคราดำเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของมะม่วง  พบทั่ว ๆ ไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ  ราดำที่จะกล่าวถึงนี้มีหลายชนิดด้วยกัน  แต่ในบ้านเราเท่าที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป คือ ชนิดที่ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่อนหลุดออกเป็นแผ่น ๆ อีกชนิดหนึ่งขึ้นบนใบมีลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉก ๆ ราดำเหล่านี้ไม่ได้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรงแต่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มะม่วงออกดอกหากมีราดำขึ้นปกคลุมดอก  ก็จะเป็นผลให้การผสมเกสรของดอกไม่สามารถจะเกิดขึ้น  เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นปกคลุมปลายเกสรตัวเมีย
ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศแต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบหรือช่อดอกมะม่วงได้หากไม่มีแมลงพวกปากดูด  อันได้แก่  เพลี้ยจั๊กจั่น  หรือแมงกะอ้า  ซึ่งเป็นตัวสำคัญ  เพราะแมลงพวกนี้จะขยายพันธุ์เป็นจำนวนมากในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูที่มะม่วงกำลังออกดอก  แมลงดังกล่าวนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช เช่น ตามยอดอ่อนและช่อดอก  แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบและช่อดอก  ซึ่งเชื้อราดำในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลงหรือไม่ติดผลเลย
นอกจากแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นแล้ว ยังมีแมลงอื่นที่สามารถดูดกินและถ่ายน้ำหวานออกมา เช่น เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง
การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้น  การป้องกันกำจัด จึงควรป้องกันกำจัดแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นหรือแมงกะอ้า  ในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกการที่จะสังเกตว่าต้นมะม่วงในสวนมีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นทำลายหรือไม่  อาจจะทำได้โดยการเดินเข้าไปใต้พุ่มมะม่วง  หากได้ยินเสียงคล้ายฝนตก ซึ่งคือเสียงที่แมลงพวกนี้ตื่นตกใจกระโดดไปเกาะยังที่อื่น ก็แสดงว่ามีแมลงพวกนี้อยู่มาก  ยาที่ใช้ได้ดีในการป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ได้แก่ คาร์บาริล(carbaryl) 85% WP ซึ่งควรที่จะทำการป้องกันกำจัดแมลงนี้ในช่วงก่อนที่มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่งก่อน  หากยังมีการทำลายของแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นอีก  ก็ควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูม
4. โรคใบจุดสนิม
โรคใบจุดสนิม  เป็นโรคที่พบได้ทั่ว ๆ ไปในมะม่วงที่ปลูกในแหล่งที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ และมักจะพบในมะม่วงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา  สาเหตุของโรคคือสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Cephaleuros virescens Kunze ซึ่งสามารถขึ้นได้บนใบและกิ่ง  นอกจากมะม่วงแล้วยังสามารถขึ้นได้บนใบพืชได้อีกหลายชนิด เช่น ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง ส้ม
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกจะเป็นจุดเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายดาวขึ้นบนหน้าใบใบ  มีลักษณะสีเขียวปนเทา  ซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นและจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ายสนิม  ซึ่งเป็นระยะที่สาหร่ายพวกนี้สร้างอวัยวะขยายพันธุ์  ซึ่งจะแพร่ระบาดไปยังใบอื่นได้  เนื่องจากสาหร่ายเป็นพืชขนาดเล็กที่ต้องการแสงแดดและความชื้นสูง  ดังนั้น  อาการของโรคจึงมักจะเกิดบนใบหรือกิ่งที่ได้รับแสงแดดเสมอ
โรคนี้ปกติจะไม่ทำความเสียหายให้กับมะม่วงมากนัก  นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึงสำหรับการป้องกันกำจัด  หากระบาดรุนแรงควรฉีดพ่นด้วยสารประกอบพวกทองแดง เช่น คอปเปอร์อ๊ออกซี่คลอไรด์(copper oxychloride)
5. โรคราสีชมพู
โรคราสีชมพูเป็นโรคหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับมะม่วงที่ปลูกในแถบที่มีอากาศชุ่มชื้นหรือในสวนมะม่วงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา  โรคนี้จะเข้าทำลายบริเวณกิ่งทำให้กิ่งแห้ง  ใบเหลือง เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor Berk et Br. ซึ่งเชื้อราพวกนี้สามารถทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด เช่น ส้ม ทุเรียน ขนุน ยางและกาแฟ
ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นอาการเมื่อใบเหลือง หรือร่วงแล้ว ถ้าตรวจดูตามกิ่งที่ใบร่วงนั้นจะเห็นเชื้อราสีขาวมีลักษณะเป็นผง ๆ ขึ้นตามกิ่ง เมื่อเฉือนเปลือกออกบาง ๆ จะเห็นว่าบริเวณเปลือกที่มีราขึ้น ทำลายนั้นจะเป็นสีน้ำตาล  ซึ่งถ้าเชื้อราเจริญรอบกิ่งก็จะทำให้กิ่งแห้งตายในที่สุด  เชื้อราสีขาวจะค่อย ๆ แก่ขึ้นจนเห็นมีลักษณะสีชมพูปนอยู่
การป้องกันกำจัด
โดยการตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้งทำลายเสีย  การตัดแต่งกิ่งมะม่วงเอากิ่งย่อยที่อยู่ในทรงพุ่มออก  ทำให้ทรงพุ่มต้นมะม่วงโปร่ง ปริมาณความชื้นในทรงพุ่มก็จะลดลงเป็นการลดความเสียหายจากการเป็นโรคนี้อีกวิธีหนึ่ง  การตรวจตราต้นมะม่วงอยู่เสมอ ๆ จะช่วยให้สามารถเห็นลักษณะอาการของโรคได้ตั้งแต่ยังเป็นไม่มาก  ซึ่งทำให้การบำบัดรักษาทำได้ง่ายโดยการถากเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วทาด้วยยากันราพวกสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์(copper oxychloride) ในบริเวณที่มีโรคระบาดมากอาจจะใช้ยาดังกล่าวทาหรือฉีดพ่นตามกิ่งที่อยู่ใกล้กับกิ่งเป็นโรค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น