การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

"เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ควรจะเลือกปลูกพันธุ์ น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีคำทำนายอนาคตว่า น้ำดอกไม้สีทอง จะล้นตลาด มาถึง ณ ปัจจุบัน มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพดี กลับไม่พอส่งขายด้วยซ้ำไป ตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว มีอีกหลายประเทศที่มีออเดอร์สั่งเข้ามา แต่หาผลผลิตส่งให้ไม่ได้"

ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ทำสวนมะม่วงมักจะไม่กล้าลงทุน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนจะเกิดสภาวะ "กล้าๆ กลัวๆ " ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ผลตามมาเกษตรกรจะขาดการบำรุงรักษา มีการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นยาไม่เต็มที่ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงโดยตรง ลุงสงวนบอกว่าการทำการเกษตรจะต้องมีการลงทุนดูแลต้นมะม่วงให้สมบูรณ์  ดังนี้

ปุ๋ยคอก มีความสำคัญ
ลุงสงวน บอกว่า เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงจะต้องใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำทุกปี จะใส่ช่วงต้นฤดูฝนหรือใส่หลังจากการตัดแต่งกิ่งเสร็จก็ได้ เนื่องจากปุ๋ยคอกจะถูกนำไปใช้ในระยะยาว เป็นพื้นฐานของความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง ปุ๋ยคอกใช้ได้ทุกประเภท แต่ต้องพึงระวัง ก่อนนำมาใช้จะต้องผ่านการหมักให้เป็น "ปุ๋ยคอกเก่า " เสียก่อน สำหรับเกษตรกรหลายคนมักจะกังวลว่าใส่ปุ๋ยคอกไปแล้วมักจะเกิดปัญหาเชื้อราระบาดทำลายมะม่วงได้ง่าย อย่าไปกังวลมากเกินไป ขึ้นกับการบำรุงดูแลรักษามากกว่า

ปัญหาการปลูกมะม่วงในพื้นที่เช่า
ปัญหาในเรื่องพื้นที่เช่า (มีต้นมะม่วงปลูกอยู่แล้ว) ดินมักจะขาดความอุดมสมบูรณ์ ผู้เช่าไม่อยากจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพราะคิดว่าไม่ใช่ที่ดินของตนเอง กลัวว่าผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับเจ้าของเดิม ทำให้มีผลต่อการผลิตมะม่วงโดยตรง ลุงสงวนแนะนำให้ผู้เช่าและเจ้าของที่ดินตกลงสัญญาเช่าให้มีความแน่นอนว่าจะให้เช่าเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่

การทำผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
ลุงสงวน บอกว่า ผิวมะม่วงส่วนใหญ่จะเสียหายเพราะเกิดจากการทำลายของโรคและแมลง โดยเฉพาะช่วงที่มีความสำคัญคือ ระยะดอกมะม่วงโรย แมลงศัตรูที่สำคัญคือ "เพลี้ยไฟ" ในระยะนี้เกษตรกรจะต้องเฝ้าดูการทำลายทุกวัน เผลอไม่ได้ เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายในระยะดอกมะม่วงโรยมากที่สุด การป้องกันและกำจัดแนะนำให้ฉีดพ่น โปรวาโด อัตรา 2-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะฉีดสลับด้วยสาร "มาลาไทออน" หรือ " เมทโธมิล" (เช่น แบนโจ) ข้อดีของสารป้องกันและกำจัด 2 ชนิดหลังดังกล่าว ลุงสงวนบอกว่าราคาไม่แพงนัก นอกจากจะควบคุมเพลี้ยไฟได้แล้วยังควบคุมหนอนได้ด้วย ที่สำคัญสารดังกล่าวญี่ปุ่นไม่ห้ามใช้และที่ผ่านมาเมื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีปัญหาเพราะสลายตัวเร็ว

สำหรับโรคที่ลุงสงวนคิดว่า มีความสำคัญกลับไม่ใช่โรคแอนแทรกโนส แต่เป็นโรค "ราแป้ง" ที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว การระบาดของราแป้งลงช่อมะม่วงจะรวดเร็วมาก มีผลทำให้ไม่มีการติดผลเลย ปัจจุบันยังไม่พบสารป้องกันโรคพืชที่โดดเด่นเป็นพิเศษในการป้องกันและกำจัดโรคราแป้ง แนะนำให้ใช้สารซีสเทน-อี ฉีดพ่นสลับกับสารเบนโนมิล เช่น เมเจอร์เบน เป็นต้น

การตัดแต่งผลมะม่วงก่อนห่อ
ลุงสงวน  บอกว่า  ต้นมะม่วงจะต้องมีการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยเพื่อปฏิบัติงานได้ง่าย และมีการคัดเลือกจำนวนผลมะม่วงต่อต้นก่อนที่จะห่อ ตัวอย่าง มะม่วง 100 ผล ที่ห่อจะคัดเลือกได้อย่างน้อย 80 ผล หรือ 80%  ถ้าติดผลช่อละ 3 ผล ควรคัดเลือกห่อเพียง 1 ผล เท่านั้น   เพื่อผลจะได้โตและมีน้ำหนักเท่าๆ กัน  ข้อควรระวังในการห่อผลมะม่วงอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ก่อนที่จะห่อผลมะม่วงจะต้องเด็ดหรือตัดส่วนปลายก้านช่อดอกหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "หนวดมะม่วง" ถ้าปล่อยทิ้งไว้ส่วนของหนวดจะทำให้ผิวมะม่วงเกิดตำหนิขึ้นได้ (เมื่ออยู่ในถุงห่อจะเกิดการเสียดสีภายในถุง)

การเลือกใช้ถุงห่อผลมะม่วง
ความจริงการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะช่วยรักษาผิวของผลมะม่วงได้ดีและสวยไร้ริ้วรอย ป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ โดยเฉพาะแมลงวันทอง และยังช่วยลดปริมาณของสารเคมีที่อาจจะฉีดพ่นถูกผลมะม่วงได้อีกด้วย ในการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง  ลุงสงวนแนะนำให้เลือกห่อตั้งแต่ผลมีขนาด ประมาณ 2 นิ้วครึ่ง (ใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย) โดยจะห่อนานประมาณ 40 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าห่อขนาดผล 3 นิ้ว จะห่อนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งในขณะนั้นความแก่ของผลมะม่วงจะอยู่ที่ 75-80% แต่ถ้าห่อผลนานเกิน 45 วัน ขึ้นไป ผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกขาวหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "มะม่วงเผือก"

แต่เดิมการห่อผลมะม่วงจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มักจะเกิดปัญหาว่าหมึกพิมพ์จากกระดาษหนังสือพิมพ์ติดเลอะเทอะบนผิวมะม่วง ปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ถุงห่อแบบใหม่ คือการใช้ถุงคาร์บอนหรือมีการจำหน่ายอยู่หลายเกรด ราคาถูกแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงห่อด้วย อย่างกรณีของถุงคาร์บอนห่อผลมะม่วงของ "ชุนฟง" ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่นบ้าง แต่ถุงทุกใบได้มาตรฐานและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ลุงสงวนยังแนะนำว่าในการใช้ถุงคาร์บอนควรใช้เพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นให้เปลี่ยนถุงใหม่

"การเก็บเกี่ยวผลผลิต" ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง
ลุงสงวน  บอกว่า ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นขั้นตอนที่จะมีการเอาใจใส่ดูแลที่ดีไม่แพ้ช่วงที่ดูแลรักษาบนต้น เจ้าของสวนมะม่วงจะต้องฝึกฝนและปลูกฝังการทำงานในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างระมัดระวังและมีความประณีต ห้ามไม่ให้เกิดการกระแทกหรือช้ำเพียงจุดเดียว

ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมะม่วงออกจากแปลงปลูกนั้น ถ้าเป็นจุดที่ใช้มือเอื้อมเด็ดถึง ก็ให้เด็ดผลอย่าให้ขั้วหักเป็นอันขาด ในการรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ถ้าผลมะม่วงไม่มีขั้วผลติด ตลาดจะไม่รับซื้อ เมื่อขั้วมะม่วงหักยางมะม่วงจะไหลโดนผิวมะม่วงเป็นลายจะตกเกรดทันที ในจุดที่ผลมะม่วงอยู่สูงใช้มือเด็ดไม่ได้ให้ใช้ตะกร้อเก็บเกี่ยว ตะกร้อที่ดีจะต้องมีใบมีดติดเพื่อเกี่ยวขั้วมะม่วงให้ขาดได้เพียงครั้งเดียว การเก็บด้วยตะกร้อควรจะเก็บทีละผล

หลังจากเก็บผลมะม่วงลงมาจากต้นแล้วจะต้องนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่วางอยู่ใต้ต้นมะม่วง ไม่ควรวางลงกับดิน ใส่ตะกร้าให้เต็มพอประมาณอย่าวางทับกันแน่นเกินไป เคลื่อนย้ายไปแกะถุงคาร์บอนในโรงคัดแยก ไม่แนะนำให้แกะถุงในแปลงปลูก (ถุงคาร์บอนมีส่วนช่วยลดการเสียดสีได้อีกทางหนึ่ง)



“ สวนลุงสงวน  จังหวัดปราจีนบุรี   http://www.cat-aou.blogspot.com  จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง  สถานที่ตั้งอยู่บนถนน  320  (ระยะทาง  300  เมตร)  บ้านเลขที่  4  หมู่  6  ต.บ้านพระ  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี 25230  สนใจติดต่อ  โทร.  082-4660376  น่ะค่ะ/ครับ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น