การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

การปลูกมะม่วงเขียวเสวย

มะม่วงเขียวเสวย เป็นที่นิยมปลูก เนื่องจาก ผลแก่หรือผลห่ามมีรสหวานมันที่อร่อยมากว่ามะม่วงชนิดอื่นที่ยังดิบอยู่ โดยนิยมปลูกตามบ้านเรือนหรือตามหัวไร่ ปลายนา รวมถึงปลูกเพื่อการค้าในแปลงใหญ่ ซึ่งนิยมปลูกจากต้นพันธุ์ตอนกิ่งหรือการเสียบยอดเป็นหลัก
การเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูก
– ไถพรวนดิน และตากหน้าดิน 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งตากดินนาน 5-10 วัน รวมถึงกำจัดวัชพืชต่างๆ
– ขุดหลุมปลูกเป็นแถวในทิศขวางกับดวงอาทิตย์ แต่ละหลุมกว้าง และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร
– ระยะห่างระหว่างหลุม และแถว ประมาณ 6-8 เมตร
– ปล่อยหลุมให้ตากแดดนาน 3-5 วัน
การปลูก
– ให้ปลูกลงหลุมในช่วงเข้าฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
– คลุกก้นหลุมกับหน้าดินด้วยปุ๋ยคอกที่ 3-5 กำมือ/หลุม ร่วมด้วยกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ที่ 1 กำมือ/หลุม
– นำต้นพันธุ์ลงปลูก (ฉีกถุงดำออก) พร้อมกลบดินให้พูนขึ้นสูงจากหน้าดินเล็กน้อย
– ปักยึดด้วยไม้ไผ่ พร้อมผูกเชือกฟางยึดลำต้นไว้
การให้น้ำ
– หลังการปลูกให้ปล่อยเติบโตด้วยน้ำฝน
– หากฝนทิ้งช่วงนาน ให้รดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
– เมื่อย่างเข้าฤดูแล้ง ให้น้ำวันเว้นวัน
– ในระยะปล่อยติดผลที่ประมาณ 3-4 ปี หลังปลูก ให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง ในระยะออกดอก และติดผล
การใส่ปุ๋ย
– ในระยะ 1-3 ปีแรก ที่ยังไม่ต้องการให้ติดผล ให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ยคอก 3-5 กำ/ต้น ปุ๋ยเคมี 1 กำมือ/ต้น
– ช่วงปล่อยติดผล ในระยะออกดอกให้เปลี่ยนปุ๋ยเคมีเป็นสูตร 10-10-20 และปุ๋ยคอกในอัตราเดียวกับในระยะก่อนปล่อยติดผล
การเก็บผลผลิต
การปลูกมะม่วงเขียวเสวยเกษตรกรจะปล่อยให้ลำต้นเติบโตอย่างเต็มที่ก่อนใน 1-3 ปีแรก หลังจากนั้น จึงปล่อยให้ต้นติดผลได้ ซึ่งอาจอยู่ในปีที่ 3-4 หรือ ตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป โดยแบ่งระยะการให้ผลออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. ระยะตั้งแต่ 3-6 ปี เริ่มให้ผลน้อยถึงปานกลาง
2. ระยะ 7-15 ปี ให้ผลผลิตมาก โดยมักให้ผลผลิตสูงสุดในปีที่ 13
3. ระยะ 16 ปี ขึ้นไป ให้ผลผลิตน้อย และน้อยลงเรื่อยๆ (7)
ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวยจะมีอายุพร้อมเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมประมาณ 105 วัน หลังดอกบาน หรือประมาณ 90 วัน หลังติดผล (5)
หลังเก็บผลมะม่วงเขียวเสวยมาแล้ว ให้เด็ดก้านผลออกจนชิดขั้วผล และให้คว่ำผลลงเพื่อให้น้ำยางไหลออก โดยมีผ้ารองไว้ด้านล่างเพื่อซับยางมะม่วง หลังจากนั้น นำมาล้างทำความสะอาดก่อนเก็บบรรจุ



มะม่วงเขียวเสวย (Khiew Sawoey)

ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงเขียวเสวย (มะม่วงมัน) 

ชื่อสามัญ : Mango Tree 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L. 

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE 

ลักษณะวิสัย/ประเภท : ไม้ยืนต้น ลักษณะพืช :  เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานผลดิบหรือผลแก่เป็นหลัก เนื่องจากผลในระยะนี้จะมีสีขาวขุ่นหรือขาวขุ่นอมครีม เนื้อแน่น มีความกรอบ และมีรสหวานมัน จนได้รับขนานนามว่า “ราชินีของมะม่วงไทย”  

การเจริญเติบโตและการแตกกิ่งค่อนข้างช้า ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวงอนเล็กน้อย โดยมีส่วนหัวใหญ่หนาและเรียวลงสู่ส่วนปลาย ลักษณะของผลสีเขียว

• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L. c.v.
• ชื่อสามัญ : Mango (Khiew Sawoey)
• ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงเขียวเสวย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
มะม่วงเขียวเสวย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-25 ปี ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา
ใบ
ใบมะม่วงเขียวเสวย ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจน
ดอก
มะม่วงเขียวเสวย ออกดอกเป็นช่อแขนง ซึ่งแต่ละแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยในช่อเดียวกันจะมีดอก 2 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ซึ่งมีจำนวนมาก (91.80%) และดอกกะเทย (8.20%) ที่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้ติดผลน้อย ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวย เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ดอกมะม่วงเขียวเสวยหลังการผสมเกสรแล้ว ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรจะร่วงหล่นไปหมด คงเหลือรังไข่ที่พัฒนาเป็นผลรูปไข่ขนาดเล็ก และจานดอกที่เหี่ยวแห้งติดด้านล่างผล
ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงเขียวเสวย มีลักษณะรียาว และแบนเล็กน้อย บริเวณขั้วผลมีขนาดใหญ่ และค่อยเล็กลงไปด้านท้ายด้านหลังผลมีลักษณะนูนออก และด้านหน้าผลคอดเล็กลง ขนาดผลกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 300-335 กรัม ผลมะม่วงเขียวเสวย เมื่อยังอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อผลมีสีขาว และมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่ เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล ส่วนเนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุก เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย
ส่วนเมล็ดด้านในมีลักษณะเรียวยาว และค่อนข้างแบนตามลักษณะของผล เปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง และมีร่องเป็นริ้วตามแนวตั้ง

ประโยชน์มะม่วงเขียวเสวย

1. มะม่วงเขียวเสวย นิยมรับประทานผลดิบแก่เป็นหลัก เพราะเนื้อผลหนา กรอบ และมีรสหวานมัน นอกจากนั้น ยังนิยมรับประทานผลสุกเช่นกัน ด้วยเนื้อผลสุกมีรสหวาน เนื้อแน่นเหนียว ไม่เละง่าย
2. มะม่วงเขียวเสวยสุก มีเนื้อสีเหลืองทองนิยมใช้ทำข้าวเหนียวมะม่วง
3. มะม่วงเขียวเสวยสุก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงแผ่น เป็นต้น
4. ก้านยอดอ่อนหรือยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่นๆ
5. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ผ้าที่ย้อมได้สีน้ำตาล
6. เนื้อไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ รวมถึงใช้เป็นท่อนไม้สำหรับการเพาะเห็ด
คุณค่าทางโภชนาการ (มะม่วงเขียวเสวย 100 กรัม)
มะม่วงเขียวเสวยดิบมะม่วงเขียวเสวยสุก
Proximates
น้ำกรัม78.580.2
พลังงานกิโลแคลอรี่8782
โปรตีนกรัม0.70.5
ไขมันกรัม0.40.8
คาร์โบไฮเดรตกรัม20.118.2
เส้นใยกรัม
เถ้ากรัม0.30.3
Minerals
แคลเซียมมิลลิกรัม
ฟอสฟอรัสมิลลิกรัม
เหล็กมิลลิกรัม
Vitamins
เรตินอลไมโครกรัม
เบต้า แคโรทีนไมโครกรัม
วิตามิน A, RERE
วิตามิน Eมิลลิกรัม
ไทอะมีนมิลลิกรัม0.020.03
ไรโบฟลาวินมิลลิกรัม0.030.05
ไนอะซีนมิลลิกรัม
วิตามิน Cมิลลิกรัม3125

สาระสำคัญที่พบ

ผลมะม่วงเขียวเสวย
– friedelin
– mangiferin
– catechin
– cycloartenol
ใบมะม่วงเขียวเสวย
– mangiferin
– isomangiferin
– methylchinomin
– quercetin
สารเหล่านี้ สามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสได้ดี โดยเฉพาะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

สรรพคุณมะม่วงเขียวเสวย

ผลดิบ และผลสุก
– ต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– ป้องกันโรคเบาหวาน
– ป้องกันโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคมะเร็ง
– กระตุ้นการถ่าย
ใบมะม่วง
– กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยการทดลองใช้สารสกัดหยาบจากใบมะม่วงเขียวเสวย โดยการผสมในอาหารให้แก่กุ้งกุลาดำ พบว่า สารสกัดหยาบจากใบมะม่วงเขียวเสวยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของแก่กุ้งได้
– ใบมะม่วงเขียวเสวยนำมาตากแห้ง และบดเป็นผงสำหรับใช้ต้มดื่มหรือรับประทาน ช่วยแก้โรคท้องร่วง
– ผงใบมะม่วงช่วยแก้โรคเบาหวาน
– ช่วยบรรเทาอาหารไอ
– แก้โรคหอบหืด
– แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก
ลำต้น และเปลือก
– ช่วยแก้ไข้ ตัวร้อน
– รักษากามโรคต่างๆ
– รักษาแผลในจมูก
– แก้อาการท้องเดิน
ราก
– ช่วยรักษาฝี
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ



วิธีการปลูกมะม่วงทั่วๆ ไป

วิธีปลูก การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนานๆ ดินจะจับตัวกันแข็ง และรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยูู่่เล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย เมื่อปลูกเสร็จ ให้ปักไม้เป็นหลักผูกต้นกันลมโยก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ต้นที่นำมาปลูกถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดี คือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้น ในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่นี้ ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุด เพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรกๆ อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก่อนจะหมดฝน และสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย ส่วนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก
3.3 การปลูกพืชแชม ต้นมะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งติดตา หรือต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้เวลาประมาณ 3 - 4 ปี จึงจะให้ผล ส่วนการปลูกด้วยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ต้นยังไม่ไห้ผลนี้ ถ้าปลูกแบบระยะต้นห่างๆ กันจะมีที่ว่างเหลืออยู่มาก ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้นๆ หรือพืชที่ค่อนข้างถาวรแซมเป็นการหารายได้ไปพลางๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยให้ดินว่างเปล่า นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย พืชที่ควรปลูกแซมระหว่างที่ต้นมะม่วงยังเล็กอยู่คือ พวกพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งเป็นพืชช่วยบำรุงดิน เมื่อเก็บถั่วแล้ว ขุดสับลงดิน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ดินและพืชต่อไป ส่วนพืชที่ไม่ควรปลูกแซมคือ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น เพราะเป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว
การปลูกพืชแซมอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมกันในการปลูกไม้ผลทั่วไปคือ ปลูกกล้วยลงไปก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกมะม่วงตามลงไป ต้นกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาไม่ให้ต้นมะม่วงโดนแดดจัดเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยให้ต้นมะม่วงโตเร็ว และประหยัดการให้น้ำด้วย จนเมื่อเห็นว่า ต้นมะม่วงโตมากแล้ว และโดนต้นกล้วยบังร่มเงา ก็ทยอยขุดต้นกล้วยออก โดยขุดต้นกล้วยที่อยู่ใกล้ๆ ต้นมะม่วงออกก่อน จนกว่าต้นกล้วยจะหมดไป และต้นมะม่วงโตขี้นมาแทนที่ ต้นกล้วยที่ตัดหรือขุดรื้อทิ้งนั้น ให้ผ่าเป็นสองซีก ใช้เป็นวัตถุคลุมดินได้ดี ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น และช่วยรักษาความชื้นของดิน การปลูกต้นกล้วยแซมนี้ มีข้อเสียตรงที่ต้องเสียแรงงานมากในการขุดรื้อต้นกล้วยออก
4. ฤดูปลูก มะม่วงควรปลูกตอนต้นฤดูฝน หรือในประมาณเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากในฤดูฝนอากาศมีความชุ่มชื้นดี ทำให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็ว และเป็นการสะดวกไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก










การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้

มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นที่นิยมปลูก และมีความต้องการทางตลาดสูง โดยเฉพาะผลสุกที่มีสีเหลืองทองสวยงาม ผิวผลเกลี้ยงสวยงาม เนื้อมีสีครีม มีรสหวาน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เป็นพันธุ์ที่ออกดอกดก แต่ติดผลปานกลาง สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ เติบโตเร็วทนต่อโรคและแมลง รวมถึงตอบสนองต่อการบังคับให้ติดผลนอกฤดูได้ดี
ลักษณะเด่นมะม่วงน้ำดอกไม้
1. ออกดอกเร็ว
2. เติบโตเร็ว ไม่ต้องการดูแลมาก
3. ทนแล้ง
4. ทนต่อโรค และแมลง
5. เป็นที่ต้องการของตลาดสูง
6. เปลือกผลสุก มีผิวผลเกลี้ยง และมีสีเหลืองทองสวยงาม
7. เนื้อผลสุกนุ่ม มีรสหวาน เนื้อไม่เละง่าย
ลักษณะด้อยมะม่วงน้ำดอกไม้
1. ผลดิบมีรสเปรี้ยวมาก ผลสุกมีความหวานน้อยกว่ามะม่วงอื่นๆ
2. มีกลิ่นหอมน้อย
3. ผลสุกมีเปลือกบาง ทำให้ซ้ำง่ายเวลาขนส่ง
4. ไม่ทนต่อโรคแอนแทรกโนส
การเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูก
– ไถพรวนแปลง ร่วมกับกำจัดวัชพืชออกให้หมด และตากแปลงนาน 5-10 วัน
– ขุดหลุมปลูกเป็นแถวตามแนวยาวของแปลงในทิศขวางกับดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะแปลง ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 6-8 เมตร
– ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตร และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม ประมาณ 6-8 เมตร
– ตากหลุม นาน 3-5 วัน
การปลูก
– เกษตรนิยมปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในช่วงต้นฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
– ให้ผสมปุ๋ยคอก ประมาณ 3-5 กำมือ/หลุม และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ/หลุม ลงก้นหลุม พร้อมเกลี่ยหน้าดินลงคลุกให้เข้ากัน นอกจากนั้น อาจเพิ่มด้วยหินฟอสเฟต ประมาณ 2-3 กำมือ/หลุม
– ฉีกถุงเพาะออก นำต้นกล้าลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบให้พูนโคนต้นขึ้นมาเล็กน้อย
– ปักไม้ไผ่ลงข้างลำต้น พร้อมผูกมัดด้วยเชือกฟาง
การให้น้ำ
– ปล่อยให้ได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติ
– หลังปลูกในปีแรก หากบางวันที่ฝนทิ้งช่วง ให้รดน้ำวันเว้นวัน
– เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง ให้น้ำวันเว้นวัน
– ในระยะติดผลที่ 3-4 ปี หลังปลูก ให้น้ำวันเว้นวัน (วันที่ฝนไม่ตกหรือหน้าดินแห้งมาก) ทั้งในระยะออกดอก และติดผล
– หากจัดทำร่องน้ำ และปล่อยให้มีน้ำขัง จะช่วยให้ต้นมะม่วงได้รับน้ำที่เพียงพอตลอดเวลา
การใส่ปุ๋ย
1. ในระยะ 1-3 ปีแรก ที่ต้นเติบโต ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน และอีกครั้งปลายฤดูฝน
– ปุ๋ยคอก 3-5 กำมือ/ต้น
– ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-2 กำมือ/ต้น
2. ระยะติดผล หลังปลูก 3-4 ปี ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะก่อนออกดอกหรือออกดอก ครั้งที่ 2 ใส่หลังเก็บผล
– ระยะออกดอก ใส่ปุ๋ยในชนิดเดียวกับระยะ 1-3 ปีแรก แต่เปลี่ยนปุ๋ยเคมีเป็นสูตร 8-24-24 หรือ 10-10-20
– ระยะออกดอก ใส่ปุ๋ยในชนิด และอัตราเช่นเดียวกับระยะ 1-3 ปีแรก
การชักนำออกดอกนอกฤดู
– ให้ตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ย ซึ่งกิ่งมะม่วงจะแตกยอดใหม่ อย่างน้อย 2 รุ่น
– จากนั้น เริ่มหยุดการให้นํ้า 7-15 วัน พร้อมกับใส่ปุ๋ยคอก 1 ถังเล็ก/ต้น และปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
– จากนั้น ไถพรวนหน้าดินเพื่อคลุกกลบปุ๋ยลงด้านล่าง และเพื่อตัดรากฝอยรอบโคนต้น
– จากนั้น ให้น้ำอย่างเต็มที่ตลอด 5-7 วัน
การห่อผล
เพื่อช่วยให้ผลมีผิวสวย ไม่มีรอยโรคหรือแมลง ไม่มีจุดด่างหรือเพลี้ยมาเกาะ เกษตรกรจะทำการห่อผลมะม่วงหลังจากที่ติดผลแล้ว 50-70 วัน การห่อจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงพลาสติก (ถุงเปิดทั้ง 2 ด้าน)
การเก็บผลผลิต
หลังการมะม่วงน้ำดอกไม้แล้ว 3-4 ปี เกษตรกรจึงปล่อยให้ติดผล โดยมีอายุผลพร้อมเก็บประมาณ 110-115 วัน หลังดอกบาน ผลสุกที่เก็บมาแล้วสามารถเก็บได้นาน 5-7 วัน ณ อุณหภูมิห้อง หากเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ประมาณ 14 วัน



มะม่วงน้ำดอกไม้ (Nam Dok Mai)

เป็นมะม่วงที่นิยมรับประทานสุก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เนื่องจาก ผลสุกมีสีเหลืองทอง สวยงาม เนื้อมีสีเหลืองอมครีม เนื้อแน่นปานกลาง มีความนุ่ม และรสหวาน นิยมรับประทานเป็นผลไม้สุกหรือใช้ทำขนมหวาน อาทิ ข้าวเหนียวมะม่วง ไอศกรีม และแยม เป็นต้น
• วงศ์ : Anacardiaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.
• ชื่อสามัญ : Mango (Nam Dok Mai)
• ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงน้ำดอกไม้

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย

มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงท้องถิ่นในไทย ปัจจุบันพบปลูกในทุกภาค และมีการปลูกเพื่อการค้ามากในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา
ใบ
มะม่วงน้ำดอกไม้ ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันบนกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่น แผ่นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม และเป็นมัน
ดอก
มะม่วงน้ำดอกไม้ ออกดอกเป็นช่อแขนงที่ปลายกิ่ง บนช่อแขนงมีดอกย่อยจำนวนมาก แต่ละดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ ทั้งนี้ ดอกมะม่วงน้ำดอกไม้มีทั้งดอกกระเทย และดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน
ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงน้ำดอกไม้ มีลักษณะอ้วนจนถึงเกือบกลม ผลด้านขั้วผลมีขนาดใหญ่ และเล็กลงที่ท้ายผล ขนาดผลกว้างประมาณ 6.5-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 250-400 กรัม หรือมากกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวนวล ผลสุกมีสีเหลืองครีมหรือเหลืองทอง เปลือกค่อนข้างบาง จึงซ้ำง่าย ส่วนเนื้อผลมีสีเหลืองอมครีม เนื้อละเอียด มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม ส่วนเมล็ดมีขนาดเล็ก และแบนลีบ ไม่มีเส้นใย

พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ที่นิยม

1. น้ำดอกไม้สีทอง
น้ำดอกไม้สีทอง เป็นมะม่วงที่กลายพันธุ์มาจากมะม่วงน้ำดอกไม้พระประแดง ผลดิบมีสีเขียวนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่ที่อยู่บนต้นมีสีเหลืองอมครีม คล้ายกับมะม่วงสุก ผลเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองทอง เนื้อละเอียด และมีเสี้ยนเล็กน้อย น้ำหนักต่อผลประมาณ 300-400 กรัม ถือเป็นพันธุ์ที่มีเปลือกหนาขึ้น หนากว่ามะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และมีความหวานมากกว่า นอกจากนั้น ทนโรค และแมลงได้ดี รวมถึงตอบสนองต่อการบังคับให้ติดผลนอกฤดูได้ดี
2. น้ำดอกไม้เบอร์ 4
น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ผลดิบมีสีเขียวนวล เนื้อมีสีขาวแน่น และหนา มีรสเปรี้ยวจัด ผลสุกมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองทอง  เปลือกผลบาง เนื้อผลละเอียด ไม่มีเสี้ยน มีกลิ่นหอม ไม่มีเสี้ยน น้ำหนักผล 280-300 กรัม ความหวานประมาณ 19 องศาบริกซ์
มาตรฐานพันธุ์ และการเพาะกล้ามะม่วงนํ้าดอกไม้
1. ต้องเป็นต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด กรณีที่ติดตาหรือเสียบยอดจะต้องมียอดพันธุ์ดี ยาวไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร
2. ต้นกล้ามีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร (โคนต้นถึงปลายยอด) และมีไม้ปักยึดข้างลำต้น
3. ต้นตอที่โคนต้น ต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.8 เซนติเมตร
4. มีลักษณะของต้น และใบสมบูรณ์ และแข็งแรงตามสภาพปกติ ไม่ลักษณะของต้นที่ขาดธาตุอาหารหรือมีการเข้าทำลายของโรค และแมลง จนมีผลต่อการเติบโต
5. ภาชนะบรรจุ
– กระถาง ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางของกระถาง ประมาณ 20 เซนติเมตร (วัดจากขอบนอกกระถาง)
– ถุงพลาสติก ต้องมีขนาดของถุงพลาสติก ประมาณ 20 X 25 เซนติเมตร (กว้าง X ยาว)
– กระชุไม้ไผ่ ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางของกระชุไม้ไผ่ ประมาณ 15 เซนติเมตร มีสภาพไม้ดี สามารถขนส่งในระยะทางไกลได้สะดวก และใช้ดินผสมเป็นวัสดุเพาะชำ
6. ต้องชำในภาชนะบรรจุตั้งแต่ 1 เดือน ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 6 เดือน เมื่อถอนขึ้นมาดู มีการเจริญของราก และสามารถเห็นได้ชัดเจน
7. ต้องมีป้ายถาวรติดที่ต้นพันธุ์ที่ระบุชื่อพันธุ์ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต และวันเดือนปีที่เพาะชำ โดยผูกติดกับต้นหรือภาชนะ และสามารถตรวจสอบได้

ประโยชน์มะม่วงน้ำดอกไม้

1. มะม่วงน้ำดอกไม้ ผลสุกมีสีเหลืองนวลหรือเหลืองทอง เนื้อผลมีสีครีม มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผลไม้สุก นอกจากนั้น ผลดิบยังใช้รับประทานเป็นผลไม้เปรี้ยว แก้ร้อนแดด
2. มะม่วงน้ำดอกไม้ นิยมใช้ทำขนมหวาน โดยเฉพาะข้าวเหนียวมะม่วง
3. มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบ แปรรูปเป็นมะม่วงดอง เนื่องจากมีรสเปรี้ยวสูง ส่วนผลสุกแปรรูปเป็นมะม่วงกวนหรือ มะม่วงในน้ำเชื่อม และแยมมะม่วง เป็นต้น
5. ก้านยอดอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่น อาทิ ลาบ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
6. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีน้ำตาล
7. เนื้อไม้จากต้นขนาดใหญ่ แปรรูปเป็นไม้สำหรับก่อสร้างบ้าน อาทิ ไม้ปูพื้น ปูฝ้า หรือแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ต่างๆ
คุณค่าทางโภชนาการมะม่วงน้ำดอกไม้ ( 100 กรัม)
– พลังงาน 60.0 กิโลแคลอรี
– โปรตีน 0.6 กรัม
– ไขมัน 0.3 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 15.9 กรัม
– ใยอาหาร 0.5 กรัม
– แคลเซียม 10.0 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 15.0 กรัม
– ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
– วิตามินเอ 133.0 IU
– วิตามินซี 36.0 มิลลิกรัม

สารสำคัญที่พบ

– Butyric acid
– 3-carene
– α-phellandren
– Succinic acid
– Malic acid
– Citric acid
– Oxalic acid
– Quinic acid
– Formic acid
– Acetic acid
– Fumaric acid

สรรพคุณมะม่วงน้ำดอกไม้

– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– ป้องกันโรคเบาหวาน ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด
– ป้องกันโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคมะเร็ง
– กระตุ้นการขับถ่าย
– ช่วยดับกระหาย
– แก้อาการไอ
– ช่วยละลายเสมหะ
– แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
– ช่วยขับปัสสาวะ
– กระตุ้นเลือดลมของสตรีเป็นปกติ
ทั้งนี้ ส่วนผู้เป็นโรคไตไม่ควรรับประทานมาก



มะม่วงทองดำ

สุกเนื้อสีส้ม กลิ่นหอม รสหวาน ทานกับข้าวเหนียวมูนอร่อยไม่แพ้มะม่วงอกร่องแน่นอนค่ะ อร่อยมาก ที่สำคัญหาทานยาก เมื่อสมัยเด็กๆเคยได้กิน แต่เดี๋ยวนี้มีแต่น้ำดอกไม้ จะกินมะม่วงทองดำคงหาซื้อกินไม่ได้แน่






มะม่วงโชคอนันต์

ชื่อสามัญ    Mango 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mangiferaindica

วงศ์ Anacardiaceae

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร เส้นรอบวงของต้น 80-200 ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆรูปทรงผล กลมรี ผิวผลสุกเป็นสีเหลือง น้ำหนักผล 250 – 350 กรัม/ผล เนื้อสีเหลือง มีเส้นใยมาก รสหวานหอม





ทานมะม่วงให้อร่อย

สำหรับคนไทย จะทานมะม่วงต้องปอกเปลือกออกก่อน โดยเฉพาะมะม่วงดิบ มีดปอกมะม่วงต้องคม อาจใช้ที่ปอกเปลือก (peeler) ซึ่งเดี๋ยวนี้มีหลายรูปแบบให้เลือกถ้าคมจะปอกเปลือกได้ดีทั้งมะม่วงดิบและมะม่วงสุก มะม่วงสุกมัก จะปอกยากเพราะเนื้ออ่อน  ผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆ มักจะบอกผู้หญิงสาวว่าถ้าปอกมะม่วงสุกแล้วน้ำไหลย้อย หรือปอกแล้วผิวไม่เรียบจะไม่มีใครมาขอแต่งงาน เพราะฉะนั้นต้องใช้มีดคมๆ แต่ก็มีวิธีรับประทานได้ง่าย โดยผ่าฝานครึ่งลูก ตามยาว แล้วกรีดเนื้อตามทางยาวและขวาง จะสามารถใช้ส้อมจิ้ม หรือช้อนตักทานได้โดยง่าย

การรับประทานหากเป็นมะม่วงดิบ จะมีรสเปรี้ยว ต้องทานกับเครื่องจิ้ม เช่น น้ำปลาหวาน กะปิหวาน หรืออาจทานเป็นกับข้าว เช่น หลนเต้าเจี้ยว หรือใช้จิ้มน้ำพริก  หรืออาจนำมาเสริมรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น ใส่ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย หมี่กะทิ และข้าวคลุกกะปิ หรือใช้ปรุงอาหาร เช่น น้ำพริกมะม่วง ยำมะม่วง ส้มตำมะม่วง เป็นต้น

น้ำมะม่วงเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่นกัน สามารถใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ มหาชนก แก้ว และ มะม่วงดิบ ปั่นทั้งเนื้อมะม่วง  ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อม หรือปั่นกับโยเกริตทานเป็นอาหารเช้า ก็ได้

มะม่วงแปรรูป ซึ่งนิยมนำมะม่วงแก้ว มาแปรรูปเป็นน้ำมะม่วง มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม  มะม่วงแผ่น ตลอดจนแช่แข็งส่งออกต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับทำแยม โยเกริต และขนมต่างๆ ด้วย





มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยม

มะม่วงน้ำดอกไม้
มะม่วงไทยจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ และมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ “Golden mongo”  “Yellow mango” มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นที่รู้จักและนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่นในปัจจุบัน โดยเฉพาะน้ำดอกไม้สีทอง และน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มีรูปทรงไข่แบน น้ำหนักผล 300-500 กรัม เปลือกบาง ผิวและเนื้อสีเหลือง มีจุดเด่นที่ สีผิวเหลืองนวลสวยงาม เนื้อแน่น นุ่มเป็นเสี้ยนเล็กน้อย มีเนื้อมาก เมล็ดบาง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย และหวานหอมเมื่อแก่จัด เหมาะการรับประทานสุก  แต่มีผิวบาง ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ผลดิบจะมีรสเปรี้ยวมาก รับประทานเป็นมะม่วงดิบ หรือทำสลัดได้ 
มะม่วงมหาชนก มหาชนกเป็นมะม่วงพันธุ์ผสมระหว่างมะม่วงหนังกลางวัน และมะม่วงซันเซท ผลมะม่วงมหาชนกมีรูปร่างยาวเรียวรี เหมือนงาช้าง  เปลือกค่อนข้างหนา น้ำหนักผลประมาณ  300 – 600 กรัม/ผล เมื่อสุกมีกลิ่นหอมจัด เนื้อสีส้มอมเหลือง มีกลิ่นขี้ไต้ ผลสุก รสหวานหอม มีกลิ่นหอมฉุนขี้ไต้เล็กน้อย และกลิ่นฉุนเพิ่มขึ้นเมื่อสุกแก่จัด รสหวานอ่อนกว่าน้ำดอกไม้และไม่อมเปรี้ยว เนื้ออ่อนนุ่ม ปริมาณเนื้อมาก เมล็ดบาง เหมาะกับการรับประทานสุก และนำทำน้ำมะม่วง ขนมหวาน และไอสครีม ผลดิบมีรสเปรี้ยว 
มะม่วงหนังกลางวัน
เป็นมะม่วงพันธุ์หนึ่งที่เคยเป็นที่นิยมผลิตส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ลักษณะของผลมีรูปร่างยาวพอๆ กับมะม่วงน้ำดอกไม้ หัวท้ายของผลงอน แต่ส่วนปลายจะแหลมและงอนเล็กน้อย ผิวของผลเมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวหม่น ผิวเรียบ เนื้อสีขาวนวลละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว ผลสุกจะมีผิวสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลือง ลักษณะของเนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวานหอม เมล็ดบาง เปลือกของผลหนาทำให้ขนส่งได้ดี ภาคเหนือเรียกว่า มะม่วงงา บางแห่งเรียกมะม่วงแขนอ่อน
มะม่วงแรด 
ผลรูปไข่กลม ปลายงอนแหลมมน ตรงใกล้ขั้วจะมีติ่งยื่นออกมาคล้ายนอแรด ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม เปลือกหนาเหียว เมื่อดิบมีสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีเหลืองอมเขียว เนื้อหยาบ มีเสี้ยน ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว เหมาะสำหรับการรับประทานดิบ ทำสลัด ยำมะม่วง
มะม่วงเขียวเสวย 
เป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ผลใช้รับประทานดิบคุณภาพดีมาก รสชาติหวานตรงกับความต้องการของคนไทย ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวงอนเล็กน้อย โดยมีส่วนหัวใหญ่หนาและเรียวลงสู่ส่วนปลาย ผลสีเขียวเข้ม เนื้อภายในมีสีขาวละเอียด กรอบ มีเนื้อมาก เสี้ยนค่อนข้างน้อย น้ำหนักของผลประมาณ 350 กรัม เมื่ออ่อนจะมีรสเปรี้ยว เปลือกหนาและเหนียว เมื่อแก่จัดจะมีรสหวานมัน เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเขียวปนเหลือง ลักษณะของเนื้อภายในเหลือง รสหวานชืด  
มะม่วงอกร่องทอง 
เป็นพันธุ์มะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกันทั่วไป ใช้สำหรับรับประทานสุกกับข้าวเหนียว ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ลักษณะของผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัดจนกระทั่งแก่ เมื่อสุกผิวของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะยาวแบน
มะม่วงโชคอนันต์ 
 เป็นมะม่วงรับประทานสุก มีผลผลิตลอดทั้งปีแม้กระทั่งในฤดูฝน ลักษณะของผลคล้ายมะม่วงพิมเสนมัน เปลือกผลหนา เนื้อแข็ง เมื่อสุกเนื้อแน่นละเอียดไม่มีเสี้ยน เนื้อสีเหลืองทอง มีกลิ่นคล้ายมะม่วงสามปี รสชาติหวาน เมล็ดลีบหรือเมล็ดบาง น้ำหนักผลประมาณ 300-400 กรัม ผลสุกแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน 5-7 วัน โดยที่เนื้อยังไม่เละ ผลแก่เก็บทิ้งไว้ 15 วันก็ยังทานได้
มะม่วงทองดำ 
ผลมีขนาดโตปานกลาง ลักษณะของผลจะหนา ป้อมปลายผลแหลมคล้ายรูปไข่ เมื่อดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาวปนเหลือง เนื้อละเอียดกรอบ ผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีรสเปรี้ยว แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว ผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองปนเขียว เนื้อสีเหลืองละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย น้ำหนักต่อผลประมาณ 350 กรัม
มะม่วงแก้ว 
เป็นมะม่วงใช้รับประทานดิบ และใช้แปรรูป ได้หลากหลาย ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ขั้วผลอูมใหญ่ เปลือกเหนียว เมื่อดิบผิวมีสีเขียวอ่อน เนื้อมีสีขาวรสเปรี้ยว เมื่อแก่เปลือกมีสีเขียวเข้ม และอมเหลืองส้มเมื่อแก่จัด  เนื้อเป็นสีเหลือง เมื่อสุกรสจะหวาน หอม
มะม่วงฟ้าลั่น 
เป็นมะม่วงที่นิยมรับประทานดิบ ในกลุ่มมะม่วงมัน รสมัน และไม่อมหวาน เนื้อขาวอมเขียว เวลาปอกจะมีเสียงแตก เป็นที่มาของชื่อฟ้าลั่น
นอกจากนี้ยังมีมะม่วงอีกหลากหลายชนิด ที่ปลูกเพื่อบริโภคเองตามบ้าน หรือจำหน่ายในท้องถิ่น เช่น มะม่วงเบาลูกขนาดเล็กกว่าไข่ สำหรับทานสด  มะม่วงขายตึก แก้วลืมรัง สำหรับทานสุก เป็นต้น 




มะม่วงแก้ว (Kaew Mango)

เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานทั้งผลดิบ และผลสุก เพราะผลดิบมะม่วงแก้วมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน นอกจากนั้น ยังนิยมนำมาแปรรูปทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม สำหรับบริโภคในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ
• วงศ์ : Anacardiaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
• ชื่อสามัญ : Mango (Kaew variety)
• ชื่อท้องถิ่น :
กลาง และทั่วไป
– มะม่วงแก้ว
ภาคอีสาน
– มะม่วงบ้าน


ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
มะม่วงแก้วเป็นพืชท้องถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในแถบประเทศพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา โดยในไทยพบมากที่สุดในภาคอีสาน รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และกลาง ส่วนภาคใต้พบได้น้อย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
มะม่วงแก้ว เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ เป็นทรงพุ่มกลม กิ่งหลัก และกิ่งแขนงมีมาก จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกลำต้นแตกร่องเป็นแผ่นสะเก็ด สีเปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา
ใบ
ใบมะม่วงแก้ว ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามปลายกิ่ง ใบมีก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ใบมีรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร
ดอก
มะม่วงแก้ว ออกดอกเป็นช่อแขนง แทงออกบริเวณยอดกิ่ง แต่ละช่อแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก โดยเป็นดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ ซึ่งอยู่ในช่อเดียวกัน ทั้งนี้ ดอกมะม่วงแก้วจะเริ่มออกดอกประมาณเดือนมกราคม และติดผลทั่วทั้งต้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์
ผล และเมล็ด
ผลมะม่วงแก้ว มีรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ขนาดผลประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 200 – 300 กรัม/ผล เปลือกผลบาง ประมาณ 0.12 เซนติเมตร เนื้อผลดิบค่อนข้างเหนียว มีรสเปรี้ยว และส่งกลิ่นหอม เนื้อผลสุกอ่อนนุ่ม และฉ่ำน้ำ มีเส้นใยบริเวณเปลือกด้านใน เนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม เมื่อสุกจัดจะมีรสหวานมาก มีความหวานประมาณ 22 องศาบริกซ์ (3)

ชนิดมะม่วงแก้ว

1. มะม่วงแก้วดำ
มะม่วงแก้วดำ หรือบางพื้นที่เรียก มะม่วงแก้วแดง มีลักษณะเด่น คือ ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างป้อม และสั้น เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม พบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
2. มะม่วงแก้วเขียว
มะม่วงแก้วเขียว มีลักษณะเด่น คือ ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผลด้านในมีสีขาว เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม เป็นชนิดมะม่วงแก้วที่พบมากในภาคอีสาน
3. มะม่วงแก้วขาว/มะม่วงแก้วขมิ้น
มะม่วงแก้วขาว หรือบางพื้นที่เรียก มะม่วงแก้วทอง หรือ มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นมะม่วงที่นิยมมาก มีลักษณะเด่น คือ ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อมีสีเหลือง เมื่อสุกเปลือกมีสีเหลืองนวล ส่วนเนื้อมีสีเหลืองอมแดง แต่จะแดงน้อยกว่ามะม่วงแก้วดำ พบได้ในภาคกลาง บริเวณจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
4. มะม่วงแก้วจุก
มะม่วงแก้วจุก เป็นพันธุ์มะม่วงแก้วที่ได้รับความนิยมมาก มีลักษณะเด่นคล้ายกับมะม่วงแก้วขาวผสมกับแก้วดำ ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอมขาว ผลสุกมีสีเหลืองนวล ผลมีขนาดใหญ่กว่าแก้วดำหรือแก้วขาว และบริเวณขั้วผลโผล่นูนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งต่างจากพันธุ์อื่นๆที่ขั้วผลบุ๋มลงเป็นร่อง

ประโยชน์มะม่วงแก้ว

1. มะม่วงแก้วดิบมีรสเปรี้ยวพอเหมาะ เนื้อมีความกรอบ จึงนิยมรับประทานผลดิบจิ้มกับพริกเกลือ รวมถึงใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร อาทิ ข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น
2. มะม่วงแก้วสุกมีเนื้อสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดงตามสายพันธุ์ เนื้อมีความนุ่ม และเหนียว ไม่เละง่าย มีความหวานพอเหมาะ จึงนิยมรับประทานเป็นผลไม้ รวมถึงใช้ทำขนมหวาน อาทิ ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น
3. มะม่วงแก้วดิบแปรรูปเป็นมะม่วงดอง เนื่องจากมีรสไม่เปรี้ยวมาก เนื้อมีความหนามากกว่ามะม่วงอื่นๆ
4. มะม่วงแก้วสุกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรมที่ต้องการปริมาณมากในแต่ละปี อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงเข้มข้นบรรจุกระป่อง มะม่วงอบแห้ง มะม่วงในน้ำเชื่อม และแยมมะม่วง เป็นต้น
5. ก้านยอดอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว โดยก้านยอดอ่อนมะม่วงแก้ว นำมาลอกเปลือกรับประทานเป็นผักคู่กับกับข้าวอื่นๆ รวมถึงใช้ยอดอ่อนรับประทานคู่ด้วย
6. เปลือกลำต้นด้านในนำมาต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีน้ำตาล
7. เนื้อไม้แปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับปูพื้น ปูฝ้า ทำวงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ต่างๆ
คุณค่าทางโภชนาการ (มะม่วงแก้ว 100 กรัม)
มะม่วงแก้วดิบมะม่วงแก้วสุก
Proximates
น้ำกรัม81.076.7
พลังงานกิโลแคลอรี่7693
โปรตีนกรัม0.50.6
ไขมันกรัม0.20.1
คาร์โบไฮเดรตกรัม18.122.4
เส้นใยกรัม2.41.6
เถ้ากรัม0.20.2
Minerals
แคลเซียมมิลลิกรัม1434
ฟอสฟอรัสมิลลิกรัม210
เหล็กมิลลิกรัมพบปริมาณน้อยพบปริมาณน้อย
Vitamins
เรตินอลไมโครกรัม
เบต้า แคโรทีนไมโครกรัม2191768
วิตามิน A, RERE37295
วิตามิน Eมิลลิกรัม
ไทอะมีนมิลลิกรัม0.050.05
ไรโบฟลาวินมิลลิกรัม0.020.06
ไนอะซีนมิลลิกรัม0.21.1
วิตามิน Cมิลลิกรัม2835

 สารอาหารอื่นๆ 
– น้ำตาลซูโครส 14.89%
– น้ำตาลซูโครส 0.73%
– น้ำตาลซูโครส 2.87%
– กรดออกซาลิก 0.00149%
– กรดซิตริก 0.02350%
– กรดมาลิค 0.05097%
– กรดมาโลนิค 0.01075%
– กรดซัคซินิค 0.09608%
– กรดฟอร์มิก 0.00523%
– กรดอะซิติก 0.00769%
– กรดฟูมาริก 0.00009%

สรรพคุณมะม่วงแก้ว
– ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด
– ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด
– ช่วยป้องกันโรคอ้วน
– ช่วยลดการเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคมะเร็ง
– กระตุ้นการทำงานของลำไส้





การปลูกมะม่วงแก้ว

มะม่วงแก้ว เป็นที่นิยมปลูก เนื่องจากทั้งผลดิบ และผลสุกเป็นที่นิยมมาก นอกจากนั้น มะม่วงแก้วยังเป็นมะม่วงพันธุ์ที่ออกลูกดกมาก เติบโตเร็ว ต้านทานโรค และแมลงได้ดี รวมถึงสามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน
ลักษณะเด่นมะม่วงแก้ว
1. ติดลูกดก
2. เติบโตเร็ว ไม่จำเป็นต้องดูแลมาก
3. ทนแล้ง
4. ทนต่อโรค และแมลง
5. เป็นที่นิยมรับประทานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งผลสุก และผลดิบ
6. เปลือกผลสุกมีสีเหลืองสวยงาม
7. เนื้อผลดิบมีความกรอบ เนื้อหนา
8. เนื้อผลสุกเหนียว แน่น ไม่เละง่าย มีรสหวานที่พอเหมาะ
9. แปรรูปได้หลายหลาย อาทิ มะม่วงดอง มะม่วงกวน มะม่วงในน้ำเชื่อม เป็นต้น
10. ต้นทุนการปลูก และการดูแลต่ำ
ลักษณะด้อยมะม่วงแก้ว
1. มีหลายสายพันธุ์ ทำให้บางพันธุ์มีราคาต่ำ
2. ช่อดอกไม่ทนฝน
3. เมล็ดมีขนาดใหญ่
4. ลำต้นแตกทรงพุ่มกว้าง และใหญ่
รูปแบบการปลูกมะม่วงแก้ว
1. การปลูกเพื่อรับประทานเอง
การปลุกมะม่วงแก้วรูปแบบนี้ พบได้ทั่วไปในทุกภาค ซึ่งเป็นการปลุกในระดับครัวเรือน ปลูกเพียงไม่กี่ต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประทานเองหรือเพื่อให้ร่มเงา เกษตรกรมักปลูกไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้าน เพียง 1-2 ต้น หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา โดยหลังการปลูกเกษตรกรจะปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ ไม่มีการดูแลหรือเอาใจใส่มาก
2. การปลูกในแปลงใหญ่เพื่อจำหน่าย
การปลูกรูปแบบนี้ เป็นการปลูกในแปลงใหญ่ จำนวนหลายสิบต้น ตั้งแต่ 1 ไร่ จนถึงหลายสิบไร่ ซึ่งกระจายในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ โดยมีการเตรียมแปลงก่อนปลูก มีการวางระยะห่างให้เหมาะสม มีการกำจัดวัชพืช การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล และการเก็บผลที่ถูกวิธี
ชนิดต้นพันธุ์ และลักษณะการปลูกมะม่วงแก้ว
1. ต้นพันธุ์จากกิ่งตอน โดยการตอนกิ่งจากต้นพ่อแม่พันธุ์ ก่อนนำมาเพาะต่อในถุงเพาะชำจนตั้งตัวได้ แล้วค่อยนำลงปลูกในแปลง
2. ต้นพันธุ์จากการเสียบยอด แบ่งเป็น
– การเสียบยอดในถุงเพาะชำ ด้วยการเพาะต้นตอจากเมล็ดให้ได้ขนาด ก่อนตัดกิ่งพันธุ์มาเสียบยอด หลังจากนั้นดูแลจนตั้งต้นได้ ก่อนนำลงปลูกในแปลง
– เสียบยอดในแปลงปลูก ด้วยการปลูกต้นตอที่ได้จาการเพาะเมล็ดในถุงเพาะชำปลูกลงแปลงก่อน เมื่อต้นตอตั้งตัวได้ และได้ขนาด จึงนำกิ่งพันธุ์มาเสียบยอด
การเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูก
แปลงปลูกครั้งแรกที่เคยปลูกพืชอื่นมากก่อน จำเป็นต้องไถพรวนดินก่อน 1 รอบ พร้อมกำจัดวัชพืชออกก่อน จากนั้น ทำการขุดหลุมปลูก กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกประมาณ 50 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างหลุม และแถวที่ 6-8 x 6-8 เมตร โดยวางแนวกว้างในทิศตะวันออก-ตะวันตก จากนั้น ตากหลุมไว้ 5-7 วัน
วิธีการปลูก
การปลูกควรปลูกในต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งต้องเตรียมแปลง และหลุมปลูกให้เสร็จก่อน และหลังจากตากหลุมจนครบกำหนดแล้ว ให้โรยก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 5 กำมือ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 1 กำมือ พร้อมเกลี่ยหน้าดินลงคลุกผสม หลังจากนั้น ฉีกถุงเพาะออก แล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบให้พูนโคนต้นขึ้นมาเล็กน้อย จากนั้น ใช้ไม้ไผ่ปักข้างลำต้น พร้อมใช้เชือกฟางรัดพอหลวมๆ
การให้น้ำ
หลังการปลูกในช่วงแรก หากฝนไม่ตกจะต้องให้น้ำอย่างน้อยวันเว้นวัน แต่หากฝนตก และหน้าดินชุ่ม ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ และในปีแรกที่ถึงช่วงหน้าแล้ง ควรให้น้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นที่เข้าระยะปีที่ 2 ควรให้น้ำบ้างในฤดูแล้ง ปีต่อไปไม่จำเป็นต้องให้น้ำ
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยระยะก่อนให้ต้นติดผล คือ 1-3 ปี ให้ใส่ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝน และครั้งที่ 2 ใส่ปลายฤดูฝน ก่อนหมดฝนประมาณ 1-2 เดือน อัตราปุ๋ยคอกประมาณ 1 ถังเล็ก/ต้น อัตราปุ๋ยเคมีประมาณ 1-2 กำมือ/ต้น และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ให้เปลี่ยนช่วงการใส่ปุ๋ยครั้งแรกเป็นก่อนการออกดอก และครั้งที่ 2 เป็นหลังการเก็บผลผลิต
การตัดดอก
มะม่วงแก้วที่ปลูกจากต้นพันธุ์ตอนหรือการเสียบยอด ควรให้ต้นมะม่วงมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปก่อน แล้วค่อยปล่อยให้ติดผล เพราะจะทำให้ต้นแตกกิ่งมาก โคนต้นแข็งแรง ดังนั้น ในระยะ 1-3 ปี หลังการปลูก หากต้นมะม่วงติดดอก ให้ตัดดอกทิ้งก่อน
การเก็บผลผลิต
หลังจากเข้าปีที่ 3 ให้ปล่อยต้นมะม่วงติดดอก และติดผลตามปกติ แล้วเก็บผลในระยะก่อนห่ามหรือสุกตามที่ตลาดต้องการหรือความต้องการจำหน่าย ซึ่งสามารถเก็บผลได้ในช่วง 3-4 เดือน หลังติดผล ประมาณปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม