การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

เทคนิคการปลูกมะม่วง

การปลูก
1. การเตรียมดิน
1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่น ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำต่างๆ ต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอย่างอื่นเพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างอย่างน้อย เมตร ร่องน้ำกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร สวนความยาวของร่องนั้นแล้วขนาดของพื้นที่หลังร่องยิ่งยกไดสูงมากยิ่งดี รากจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่องเสร็จแล้ว ให้ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย โดยการขุดตากดินใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือถ้าดินเหนียวมากให้โรยปูนขาวเสียก่อนจึงลงมือขุด ปูนขาวจะช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน และทำให้ดินไม่จับตัวกันแน่น เนื่องจากมะม่วงไมชอบดินที่จับตัวกันแน่นการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกแบบยกร่องเพราะดินตามที่ราบลุ่มมักจะเป็นดินเหนียวจัด หลังการขุดยกร่องใหม่ หลังยกร่องเสร็จให้ขุดหลุมปลูก และราดดินบริเวณหลุมให้ชุ่มด้วย สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์” ผสมน้ำอัตรา ลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นตากดินที่ขุดขึ้นมาจนแห้งสนิท จึงใช้จอบย่อยให้เป็นก้อนเล็กๆ แล้วผสมกับวัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว (สูตรเข้มข้นพิเศษ) ใส่อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม จึงลงมือปลูกมะม่วง ซึ่งจะได้ผลดีกว่า ต้นมะม่วงจะตั้งตัวเร็วและโตเร็วกว่า ส่วนในที่ที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูและเคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินรวนซุยอยู่แลว อาจต้องปรับปรุงดินอีกเพียงเล็กน้อยก็ลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า หรือที่ที่เคยเป็นไร่เก่า ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเตรียมที่ปลูก ถ้ามีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ ให้โค่นถางออกให้หมด เหลือไว้ตามริมๆ ไร่เพื่อใช้เป็นไม้กันลม แต่ถ้าบริเวณนั้นมีลมแรงอยู่เป็นประจำก็ไม่ควรโค่นไม่ใหญ่ออกจนหมด ให้เหลือไว้เป็นระยะๆ จะใช้กันลมได้ดี เมื่อปรับที่เรียบร้อยแล้วให้ปรับปรุงดิน โดยไถพรวนพลิกดินสัก 1-2 ครั้ง หรือจะกำจัดวัชพืช แล้วลงมือขุดหลุมปลูกเลยก็ไดถ้าดินที่ปลูกนั้นอุดมสมบูรณด้วยอินทรียวัตถุอยู่แลว ก็ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงดินอีก ส่วนที่เป็นทรายจัดมีอินทรียวัตถุน้อย ให้ปรับปรุงดินให้ดีเสียก่อนลงมือปลูก โดยการใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว (สูตรเข้มข้นพิเศษ) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม เพิ่มเติมลงในดิน จะทำให้ต้นมะม่วงตั้งตัวเร็ว เจริญเติบโตได้ดีขึ้นมาก
นอกจากนี้ การปรับปรุงดินอาจใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได วิธีทำก็คือ ปลูกพืชพวกตระกูลถั่วต่าง ๆ หรือ ปอเทือง แล้วไถกลบลงในดินให้ผุพัง เป็นประโยชน์ต่อดิน การปรับปรุงดินด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวจะช่วยให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำ และอากาศของดินดี ทำให้ดินอุ้มน้ำดี เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง ส่วนการปลูกจำนวนเล็กน้อยตามบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย มีข้อที่ควรคำนึงอยู่ สองประการคือ
(1) ความลึกของระดับน้ำในดิน และความแน่นทึบของดิน ที่บางแห่งระดับน้ำในดินตื้น เมื่อขุดลงไปเพียงเล็กน้อย น้ำก็จะซึมเข้ามา เวลาจะปลูกมะม่วงควรยกระดับดินให้สูงขึ้น เพราะระดับน้ำจะเป็นตัวคอยบังคับการเจริญเติบโตของราก เมื่อรากเจริญไปถึงระดับน้ำแล้ว จะไม่สามารถเติบโตลึกลงไปได้อีก แต่จะแผ่ขยายออกด้านข้าง ทำให้รากของมะม่วงอยู่ตื้น ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เป็นผลให้ต้นมะม่วงโตช้าแคระแกร็นและโค่นล้มง่าย
(2) ความแน่นทึบของดินนั้น ตามปกติ เวลาถมที่เพื่อปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน ก็มักจะถมให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้ดินทรุดในภายหลัง ดินที่แน่นทึบนี้ไม่เหมาะต่อการปลูกมะม่วง หรือไม้ยืนต้นต่าง ๆ เลย เพราะรากไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศของดินไม่ดี ทำให้ต้นมะม่วงโตช้าและแคระแกร็น การแกไขทำได้โดย ขุดหลุมปลูกให้กว้าง ๆ และลึก ราดดินให้ชุ่มด้วย สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์” ผสมน้ำอัตรา ลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากนั้นตากดินที่ขุดขึ้นมาจนแห้งสนิท ย่อยให้เป็นก้อนเล็กๆ แล้วผสมกับวัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว (สูตรเข้มข้นพิเศษ) ใส่อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม เสร็จแล้วจึงกลบดินลงหลุม รดน้ำให้ยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก
2. การขุดหลุมปลูก
2.1 การขุดหลุมปลูกทั้งแบบปลูกบนร่องและปลูกในที่ดอน ควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการปฏิบัติงาน ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างยาว และลึก 50 เซนติเมตร - 1 เมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดี ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมากก็ขุดหลุมขนาดเล็กได้ ส่วนดินที่ไม่ค่อยดี ให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้น ให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนแยกไว้กองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาสัก 15 - 20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด ตรายักษ์เขียว สูตร (แถบทอง) อัตรา 1-2 กำมือต่อหลุม รองพื้นด้วย แล้วจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมและดินชั้นล่างกลบทับลงไปที่หลัง ดินที่กลบลงไปจะสูงกว่าปากหลุม ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดีเสียก่อน หรือรดน้ำให้ดินยุบตัวดีเสียก่อน จึงลงมือปลูกระยะปลูก
2.2 ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่
(1) ระยะปลูกแบบถี่ หรือการปลูกระยะชิด เช่น 2.5 X 2.5 เมตร, 4 X 4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะได้มะม่วงประมาณ 256ต้นต่อไร่ การปลูกระยะชิดนี้ จำเป็นจะต้องดูแลตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอด้วย
(2) ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8 X 8 เมตร, 10 X 10 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม แนะนำให้ปลูกระยะ 8 X 8 เมตร หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 6 X 6 เมตร สำหรับมะม่วงที่ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง
3. วิธีปลูก
การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ในภาชนะนานๆ ดินจะจับตัวกันแข็ง และรากก็พันกันไปมา เวลานำออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้นภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทำได เพื่อจะได้เจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่ายเมื่อปลูกเสร็จให้ปกไมเป็นหลักผูกต้นกันลมโยก แล้วรดน้ำให้ชุม ต้นที่นำมาปลูกถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดีคือแสดงอาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้นในระยะที่ต้นยังเล็กอยู่นี้ ให้หมั่นรดน้ำอยู่เสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุดเพราะจะประหยัดเรื่องการให้น้ำได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีน้ำที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรก ๆ อาจต้องรดน้ำให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้น้ำอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก่อนจะหมดฝนและสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้โดยไม่ตาย ส่วนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก
3.3 การปลูกพืชแซม ต้นมะม่วงที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งติดตา หรือต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จึงจะให้ผล ส่วนการปลูกด้วยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะใช้เวลาประมาณ 5–6 ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ต้นยังไม่ไห้ผลนี้ ถ้าปลูกแบบระยะต้นห่างๆ กันจะมีที่ว่างเหลืออยู่มาก ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ หรือพืชที่ค่อนข้างถาวรแซมเป็นการหารายได้ไปพลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยให้ดินว่างเปล่า นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วยพืชที่ควรปลูกแซมระหว่างที่ต้นมะม่วงยังเล็กอยู่ คือ พวกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ซึ่งเป็นพืชช่วยบำรุงดิน เมื่อเก็บถั่วแล้ว ขุดสับลงดิน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ดินและพืชต่อไป ส่วนพืชที่ไม่ควรปลูกแซมคือข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น เพราะเป็นพืชที่ทำให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว การปลูกพืชแซมอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมกันในการปลูกไม้ผลทั่วไปคือ ปลูกกล้วยลงไปก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกมะม่วงตามลงไป ต้นกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาไม่ให้ต้นมะม่วงโดนแดดจัดเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะช่วยให้ต้นมะม่วงโตเร็ว และประหยัดการให้น้ำด้วย จนเมื่อเห็นว่า ต้นมะม่วงโตมากแล้ว และโดนต้นกล้วยบังร่มเงา ก็ทยอยขุดต้นกล้วยออก โดยขุดต้นกล้วยที่อยู่ใกล้ ๆ ต้นมะม่วงออกก่อน จนกว่าต้นกล้วยจะหมดไป และต้นมะม่วงโตขึ้นมาแทนที่ ต้นกล้วยที่ตัดหรือขุดรื้อทิ้งนั้น ให้ผ่าเป็นสองซีก ใช้เป็นวัตถุคลุมดินได้ดี ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น และช่วยรักษาความชื้นของดิน การปลูกต้นกล้วยแซมนี้ มีข้อเสียตรงที่ต้องเสียแรงงานมากในการขุดรื้อต้นกล้วยออก
4. ฤดูปลูก
มะม่วงควรปลูกตอนต้นฤดูฝน หรือในประมาณเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากในฤดูฝนอากาศมีความชุ่มชื้นดี ทำให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็ว และเป็นการสะดวกไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก

การดูแลรักษา
1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต
1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก
1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์
2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ
2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น
2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่
3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก
ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ
วิธีการให้น้ำ :
1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ
2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก
ปริมาณน้ำ :
มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ มิลลิเมตรต่อวัน(การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตรต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)
มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)
ความถี่ของการให้น้ำ
ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5 วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง
การงดให้น้ำ
ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง
การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง
เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร
ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ
ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่
วิธีการตัดแต่งกิ่ง
- การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา
เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก
- การตัดแต่งแบบปานกลาง
เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง– ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง
- การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก
เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว
รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง
ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้
มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)
มกราคม--->ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก
การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ
1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด
2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง
3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่
4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ  เดือนถึง เดือนมะม่วงก็จะออกดอก
5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้
เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม
อัตราการใช้สารต่อต้น*
2-3 เมตร
20-30 ซีซี
3-4 เมตร
30-40 ซีซี
4-5 เมตร
40-60 ซีซี
5-6 เมตร
60-100 ซีซี
6-10 เมตร
100-200 ซีซี
* อัตราการใช้นี้คิดจากผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรที่มีเนื้อสารพาโคลบิวทาโซล 10%
6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ

การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น
เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ
1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ
สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว
วิธีป้องกัน ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ เมทา แม็ก อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)
2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก
เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น
                วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน
3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้
                วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง
4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้
วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย
อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย
มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :
ทางดิน ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง
ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2 ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)
ตารางสรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป :
ช่วงเวลา
ทางดิน
ทางใบ
หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว
ครั้งที่ ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน
ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม "คีเลท" อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณครั้ง
เตรียมต้นสะสมอาหาร
ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น
ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน
กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว
ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม "คีเลท" อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว
ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5 กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น
ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม คีเลท อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ          
1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก
2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก,ลูกใหญ่,ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ
3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้
4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง
5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก
1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร อาหารเสริมรวม คีเลท อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง
2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ ถัง200ลิตร) + อาหารเสริมรวม คีเลท อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก
3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ
5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง,หนอนเจาะผล,แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) เมทาแม็ก + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) บาร์ท๊อปฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก,ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริดเอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกใหพนระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นวามะมวงติดผลมีขนาดเทาหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปดวยถ้าเห็นวายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน

การเก็บเกี่ยว
                การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต ประการคือ
1. แก้มผลทั้ง ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล
2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น