การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีการ บ่มมะม่วงให้สุก

ะม่วงมีการปลูกขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผลไม้ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย ปัจจุบันมีการปลูกมะม่วงในพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น อเมริกาใต้ เม็กซิโก และแถบทะเลแคริบเบียน คุณสามารถกินมะม่วงได้สดๆ หรือจะใส่ลงในซัลซ่า สลัด สมูทตี้ หรือเมนูอาหารอีกมากมายก็ได้เช่นกัน มะม่วงนั้นอุดมไปด้วยใยอาหาร โพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน และวิตามินเอและซี เอนไซม์ในผลไม้ชนิดนี้ยังมีส่วนช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ผลมะม่วงจะมีทั้งสีเขียว สีแดง หรือสีเหลือง แม้ว่าบางคนจะกินมะม่วงดิบ ซึ่งรสชาติจะออกเปรี้ยว แต่เนื้อของผลไม้ชนิดนี้จะหวานมากเมื่อสุกงอม มาลองใช้เคล็ดลับต่อไปนี้ในการบ่มมะม่วงให้สุกกันเลยค่ะ

ส่วน 1 ของ 3: การบ่มมะม่วงให้สุก
1.  บ่มมะม่วงในถุงกระดาษหรือหนังสือพิมพ์. วางมะม่วงที่ใส่ลงถุงไว้บนเคาน์เตอร์ครัว ทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นค่อยมาดูว่าสุกหรือยังในตอนเช้า มะม่วงที่ห่อด้วยถุงกระดาษจะปล่อยเอทิลีนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซไร้กลิ่นที่จะเร่งกระบวนการการสุกงอม นำมะม่วงออกจากถุงและเอามาใช้เมื่อมะม่วงส่งกลิ่นหอมแบบผลไม้ออกมาและมีผิวนิ่มเมื่อกดลงเบาๆ โดยปกแล้วจะใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน (หรือเร็วกว่านั้น)
          1.  เมื่อห่อมะม่วงในถุงกระดาษหรือหนังสือพิมพ์ อย่าปิดถุงจนสนิท ต้องปล่อยให้อากาศและก๊าซไหลออกบ้าง ไม่อย่างนั้นเชื้อราอาจก่อตัวขึ้นได้     
          2.  ใส่แอปเปิ้ลหรือกล้วยลงไปในถุงด้วยเพื่อเร่งให้สุกเร็วขึ้นอีก การใส่ผลไม้ที่ปล่อยก๊าซเอทิลีนลงไปอีกจะช่วยเพิ่มปริมาณเอทิลีนในถุง ซึ่งจะทำให้คุณได้มะม่วงที่สุกจนฉ่ำเร็วขึ้น

2.  ใส่มะม่วงลงในถ้วยข้าวสารหรือเมล็ดข้าวโพดคั่ว. ภูมิปัญญาพื้นบ้านนี้มาจากอินเดีย เมื่อเหล่าแม่บ้านผู้ขยันขันแข็งเก็บมะม่วงดิบไว้ในกระสอบข้าวสารเพื่อบ่มให้สุกเร็วๆ ส่วนในเม็กซิโกนั้นก็มีเคล็ดลับคล้ายๆ กัน เพียงแต่ใช้เมล็ดข้าวโพดคั่วแทนข้าวสาร ถึงวัตถุดิบที่ใช้จะต่างกัน แต่กระบวนการและผลลัพธ์นั้นเหมือนกัน นั่นคือ แทนที่จะต้องรอสามวันให้มะม่วงของคุณสุกตามธรรมชาติ มะม่วงของคุณจะสุกไม่เกินวันหรือสองวันเท่านั้น และอาจเร็วกว่านั้นด้วยซ้ำ
          1.  เหตุผลเบื้องหลังภูมิปัญญาในการบ่มมะม่วงนี้ก็เหมือนกับวิธีบ่มโดยใช้ถุงกระดาษ นั่นคือ ข้าวสารหรือเมล็ดข้าวโพดจะช่วยกักเก็บก๊าซเอทิลีนไว้รอบๆ ผลมะม่วง ซึ่งจะทำให้กระบวนการการสุกงอมนั้นเร็วขึ้น
          2.  ที่จริงแล้ว วิธีนี้จะให้ผลที่รวดเร็วมากจนบางครั้งคุณอาจเสี่ยงที่จะบ่มมะม่วงจนสุก “เกินไป” ควรตรวจดูว่ามะม่วงสุกได้ที่หรือยังทุกๆ 6 หรือ 12 ชั่วโมง ตราบใดที่คุณไม่ลืมเสียก่อนว่าใส่มะม่วงไว้ในถ้วยข้าวสาร คุณก็จะได้มะม่วงที่สุกงอมหอมหวานอย่างแน่นอน

3.  วางมะม่วงที่ยังไม่สุกไว้บนเคาน์เตอร์ครัวที่อุณหภูมิห้อง. คุณต้องใช้เพียงแค่เวลาและความอดทนเท่านั้นสำหรับวิธีนี้ เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่นๆ มะม่วงอาจใช้เวลาหลายวันในการสุกงอม แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุดในการทำให้มะม่วงของคุณนั้นเนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ และสุกพร้อมรับประทาน ให้ใช้มะม่วงเมื่อผิวนิ่มเวลาจับและมีกลิ่นหวานอมเปรี้ยวแรงๆ

ส่วน 2 ของ 3: การดูว่ามะม่วงสุกหรือยัง

1.  ดมกลิ่นมะม่วงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือที่สุด. ดมมะม่วงตรงด้านที่เป็นก้าน หากมีกลิ่นหอมหวานอมเปรี้ยวและกลิ่นค่อนข้างแรง แสดงว่ามะม่วงสุกแล้ว แต่ถ้าหากคุณไม่ค่อยได้กลิ่นนัก แสดงว่ามะม่วงของคุณยังไม่สุกดี

2.  บีบมะม่วงเบาๆ หลังจากที่คุณดมแล้ว. กดมะม่วงเบาๆ หากผิวนิ่มและกดยุบลงไปเล็กน้อย แสดงว่ามะม่วงสุกแล้ว มะม่วงที่สุกแล้วจะให้ความรู้สึกคล้ายกับพีชหรืออะโวคาโดที่สุกแล้ว และหากมะม่วงยังแข็งอยู่และผิวไม่ยืดหยุ่น แสดงว่ายังไม่สุก

3.  อย่าอาศัยสีในการตัดสินว่ามะม่วงสุกหรือยัง. แม้ว่ามะม่วงสุกส่วนใหญ่จะมีสีแดงเข้มหรือสีเหลืองออกไหม้มากกว่าสีเขียวอ่อนๆ มะม่วงที่สุกแล้วจะไม่ได้เป็นสีแดงหรือสีเหลือง “ทุกครั้ง” ฉะนั้นจึงลืมรูปลักษณ์ของมะม่วงไปได้เลยเมื่อตรวจดูว่ามะม่วงสุกหรือยัง ให้ใช้กลิ่นและความนิ่มเป็นตัวตัดสินแทน

4.  อย่าเพิ่งกลัวเมื่อเห็นจุดดำๆ นิดๆ หน่อยๆ บนผิวมะม่วง. บางคนไม่กล้ากินมะม่วงที่มีผิวเป็นจุดกระดำกระด่าง แต่รู้หรือไม่ว่าจุดด่างพวกนี้ตามปกติแล้วเป็นเพียงสัญญาณเริ่มแรกของการเน่าเสียของมะม่วงเท่านั้น แม้จะเป็นที่รู้กันดีว่ามะม่วงนั้นเน่าเร็ว แต่จุดดำๆ พวกนี้ไม่จำเป็นต้องหมายความว่ามะม่วงนั้นเสียแล้ว ความเป็นจริงแล้วจุดพวกนี้อาจหมายความว่ามะม่วงมีปริมาณน้ำตาลมากก็ได้
          1.  หากจุดดำๆ นั้นนิ่มกว่าปกติ ให้ผ่ามะม่วงออกและมองหาเนื้อที่เป็นใสๆ เนื้อแบบนี้คือสัญญาณว่ามะม่วงเน่าและควรทิ้งมะม่วงเหล่านี้ไป
          2.  ให้ใช้ความรู้สึกของคุณในการตัดสินหากมะม่วงลูกนั้นมีจุดดำเล็กน้อย นั่นคือ หากกดผิวแล้วไม่นิ่มจนเกินไป มีกลิ่นหอมพอใช้ได้ และผิวนั้นแน่นตึงและสีสด ก็สามารถกินมะม่วงลูกนั้นได้

ส่วน 3 ของ 3: การเก็บรักษามะม่วง

1.  นำมะม่วงทั้งลูกแช่ตู้เย็นเมื่อผลสุกแล้ว. ไม่จำเป็นต้องใช้พลาสติกห่อหรือภาชนะใดๆ ในการเก็บมะม่วงไว้ในตู้เย็น การแช่มะม่วงในตู้เย็นจะช่วยลดความเร็วในการสุกงอมของมะม่วง โดยสามารถแช่มะม่วงที่สุกแล้วทั้งลูกไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 5 วัน
          1.  ห้ามเก็บมะม่วงไว้ในตู้เย็นก่อนที่มะม่วงจะสุก เช่นเดียวกับผลไม้เมืองร้อนทุกชนิด ไม่ควรเก็บมะม่วงไว้ในตู้เย็นก่อนที่มะม่วงจะสุกดี เนื่องจากเนื้อมะม่วงอาจเสียหายจากอุณหภูมิเย็นๆ นอกจากนี้ การแช่เย็นยังไปหยุดกระบวนการการสุกงอมของผลไม้อีกด้วย

2.  ปอกและหั่นมะม่วงที่สุกแล้ว หากต้องการ. ใส่มะม่วงสุกที่หั่นแล้วลงในกล่องสุญญากาศ ทั้งนี้ สามารถเก็บภาชนะไว้ในตู้เย็นได้สองสามวัน ส่วนในช่องแช่แข็งนั้น สามารถเก็บมะม่วงที่หั่นแล้วไว้ในภาชนะสุญญากาศได้นานถึง 6 เดือน


เคล็ดลับ

1.  เนื้อด้านในของมะม่วงที่เป็นรูปวงรีมักจะมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นเส้นใยน้อยกว่ามะม่วงที่รูปร่างแบนๆ บางๆ

2.  สีของมะม่วงไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ในการดูว่ามะม่วงสุกหรือยัง ให้ใช้กลิ่นและความนิ่มในการตัดสินความสุกงอมของมะม่วง

คำเตือน

1.  อย่าเก็บมะม่วงที่ยังไม่สุกไว้ในตู้เย็น มะม่วงที่ยังไม่สุกดีจะไม่สุกงอมในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นของตู้เย็น


สิ่งของที่ใช้

1.  มะม่วง
2.  ถุงกระดาษ
3.  แอปเปิ้ล
4.  กล่องสุญญากาศ
5.   ตู้เย็น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น