การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โรคและแมลงศัตรูมะม่วง

โรคและแมลงในระยะแตกยอดใหม่จนถึงระยะใบแก่
แมลงที่สำคัญในระยะนี้ คือ
1. หนอนผีเสื้อเจาะยอดอ่อนมะม่วง (Chlumetia transversa Walker)  ตัวเต็มวัยจะวางไข่หรือกิ่งอ่อน ยอดอ่อน เมื่อฟักเป็นตัวหนอน หนอนเจาะกินเข้าไปอยู่ในยอดอ่อน ทำให้ยอดอ่อนเหนือรอยเจาะเหี่ยวแห้ง
2. ด้วงงวงกัดใบไม้ (Hypomeces squamosus F.)  เรียกว่าแมลงค่อมทอง หรือแมงสะแกง ตัวเต็มวัยสีเขียวใบไม้ปนน้ำตาล มีความยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ด้วงวางไข่จามก้านใบทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินใบ ถ้าหากทำลายมากจะทำให้เหลือแต่ยอด
3. ด้วงตัดใบ (Deporaus marginatus Pascoe)  ด้วงชนิดนี้ตัวเต็มวัยสีน้ำตาล ขนาดลำตัวกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร ชอบทำลายใบขณะใบอ่อนเริ่มคลี่ โดยกัดกินผิวใบด้านล่างของใบ ทำให้ด้านบนแห้ง ถ้าทำลายมากทำให้ใบร่วงเหลือแต่ยอดกิ่ง การวางไข่จะวางไข่ที่ใบอ่อนและกัดเส้นกลางใบขาดห้อยให้ตัวอ่อนม้วนกินอยู่ เมื่อลมพัดใบจะขาดร่วงลงดิน ใบที่เหลือจึงขาดวิ่น
4. เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis)  ตัวขนาดเล็กมาก สีเหลืองอ่อนหรือส้ม เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน หรือตามด้านล่างของใบอ่อน โดยเฉพาะบริเวณปลายใบ ยอดอ่อนที่เพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงจะมีสีน้ำตาล ใบที่ถูกทำลายบริเวณปลายใบและขอบใบไหม้ ขอบใบม้วนลง ใบอาจแห้งถึงครึ่งใบ
5. หนอนชอนเปลือกกิ่งมะม่วง (Spulerina isonoma Meyrick)  ในระยะแตกยอดใหม่ใกล้แก่หรือระยะใบเพสลาดมักมีหนอนผีเสื้อกินใต้ผิวเปลือกของกิ่ง กินถึงไหนจะทำให้เปลือกกิ่งที่มีสีเขียวเปลี่ยนเยื่อสีน้ำตาล ตัวหนอนขนาดเล็กจะอยู่ภายใน ถ้าหลายตัวกัดกินรอบกิ่งทำให้ยอดที่แตกใหม่แห้งตายได้
6. เพลี้ยจักจั่นหรือแมงกะอ้า (Idioscopus sp.)  เป็นแมลงขนาดเล็กตัวยาว 3.5-4 มิลลิเมตร หัวป้านท้องเรียวลงเล็กน้อยมีขาคู่หลังกระโดได้ดี ลำตัวสีเขียวอ่อนออกน้ำตาล มีจุดเล็กๆสีดำหรือเหลืองประปรายทั่วตัว วางไข่ตามด้านใต้เส้นแถบกลาง ยอดอ่อน เมื่อฟักเป็นตัวจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ส่วนต่างๆ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน ทำให้แห้ง ถ้าเป็นกับช่อดอกทำให้ช่อดอกแห้งหรือผลร่วงในระยะเล็ก
โรคที่สำคัญ ในระยะนี้มักจะพบว่าเป็นกับใบอ่อน กิ่งอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ผลอ่อน และผลในที่บ่ม ก็คือ
1. โรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum gloeosporioides) เชื้อจะอยู่ทั่วไปในอากาศและตามส่วนต่างๆของมะม่วงที่เป็นโรค เชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูง เช่น ในช่วงฝนตกชุก ช่วงที่มีหมอกน้ำค้างมาก เชื้อจะระบาดรวดเร็ว ดังนั้นในระยะแตกกิ่งใหม่จึงควรป้องกันไม่ให้มะม่วงเป็นโรค อาการของโรค เมื่อเชื้อเข้าทำลายใบอ่อนจะเห็นเป็นแผลเล็กๆ สีน้ำตาล ถ้าเป็นมากจะลุกลามทำให้ใบแห้งและร่วงได้ ถ้าเกิดกับกิ่งอ่อนทำให้กิ่งแห้งตายจากยอดลงมาในกิ่งแก่ถ้าเกิดแผลเชื้อก็จะเข้าทำลายได้ ถ้าเกิดบนผลทำให้ผลเน่าและบริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีดำ บางครั้งทำความเสียหายในขณะขนส่งและขณะบ่ม  ถ้าโรคแอนแทรคโนสระบาดในระยะมะม่วงแทงช่อดอก จะทำให้ช่อดอกหรือส่วนของดอกเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล หลังจากนั้นดอกจะร่วงหล่นไป ในระยะผลอ่อนทำให้ผลอ่อนร่วง
การป้องกันกำจัดแมลงและโรคในระยะแตกยอดใหม่จนถึงระยะใบแก่
1.หนอนเจาะยอดและด้วงกัดกินใบ ควรป้องกันในระยะเริ่มแทงยอดใหม่ ขนาดประมาณ 2.54 เซนติเมตร โดยฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงคาบาริล ชื่อการค้า เซฟวิน 85 อัตรา 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ
2.เพลี้ยไฟหนอนชอนเปลือกกิ่ง และเพลี้ยจั๊กจั่น ถ้าพบระบาดควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงประเภทดูดซึม เช่น ไดเมธโอเอท ในอัตรา 30-40 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตรหรือสารไพรีทรอย
3.โรคแอนแทรคโนส ใช้สารเคมีกำจัดโรคไซแนบผสมมาแนบ ชื่อการค้า เช่น เอชินแมก ไดเทนเอ็ม-45  และไตรแมนโซน ใช้อัตรา 2-3 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บ หรือสารเคมีกำจัดโรคเบโนมิล เช่น เบนเลท หรือฟันตาโซล หรือยาคาเบนดาซิมก็ได้
การใช้สารเคมีกำจัดแมลงกับสารเคมีกำจัดโรคในตัวยาที่กล่าวมาแล้วสามารถผสมกันได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อมะม่วงที่ปลูกและในระยะแตกใบอ่อนจนเป็นใบแก่ ขอแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและโรคประมาณ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในระยะเริ่มแทงยอดใหม่ขนาด 2.54 เซนติเมตร ฉีดพ่นยาครั้งที่ 2 หลังฉีดครั้งแรก 10-14 วัน และฉีดพ่นครั้งที่ 3 หลังฉีดพ่นครั้งที่ 2 เป็นเวลา 10-14 วัน เช่นกัน
โรคและแมลงศัตรูในมะม่วงระยะแทงช่อดอกและติดผล
แมลงศัตรูที่สำคัญในระยะแทงช่อดอกถึงติดผล
1. หนอนผีเสื้อเจาะช่อดอกอ่อน เป็นชนิดเดียวกับหนอนผีเสื้อเจาะยอดอ่อน
2.  ด้วงงวงกัดกินดอก เป็นชนิดเดียวกับด้วงงวงกัดกินใบ
3. เพลี้ยไฟช่อดอก ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ช่อดอก ทำให้ดอกแห้งหรือช่อดอกไม่ยืดแก ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนทำให้ผลอ่อนบิดเบี้ยวหรือเปลี่ยนสีเป็นแบบเดียวกับสีของละมุด
4. หนอนผีเสื้อกินดอก
5. เพลี้ยจักจั่นหรือแมงกะอ้า จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ช่อมะม่วงแห้งและผลร่วง ฤดูที่มะม่วงแทงช่อดอก เป็นช่วงที่เพลี้ยจักจั่นหรือแมงกะอ้าขยายพันธุ์และวางไข่ตามยอดอ่อน ก้านช่อดอก ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัย แต่ไม่มีปีกและมีขนาดเล็กกว่า ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้ง นอกจากนี้เพลี้ยจักจั่นยังขับถ่ายของเหลวที่มีรสหวานออกมาด้วย ซึ่งทำให้เกิดราดำขึ้นบนน้ำหวาน จะพบว่าช่อดอก ใบ กิ่ง เป็นสีดำ ถ้ากำจัดเพลี้ยหมดไปราดำก็จะหมดไปด้วย การกำจัดอาจใช้สารเคมีกำจัดแมลง คาร์บาริลหรือไพรีทรอยก็ได้
โรคในระยะช่อดอกที่สำคัญ
1. โรคแอนแทรคโนส  จะเข้าทำลายใบและระบาดในระยะแทงช่อดอกด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่มีหมอก มีน้ำค้างมาก เชื้อจะเจริญที่ดอกและช่อดอก ทำให้ดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลและร่วง
2. โรคราแป้ง  เป็นโรคที่สำคัญในระยะช่อดอกและติดผลโรคหนึ่งของมะม่วงโดยเฉพาะในเขตที่มีอากาศเย็น อาการจะมีลักษณะเป็นแป้งฝุ่นสีขาวที่ช่อดอก โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่โคนก้านดอกย่อย โดยเฉพาะจะทำให้ช่อดอกร่วงหมด ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้โรคแพร่กระจายลงมาทางโคนก้านช่อทำให้ช่อแห้งหรือบางทีไม่แห้งแต่มีรอยขีด สีน้ำตาล ถ้าเป็นกับผลจะทำให้ผลแตกบุ๋ม แผลเป็นรูปแฉกหรือรูปดาว
สาเหตุเกิดจาก Oidium mangiferae กลุ่มโคโลนีจะถูกพัดพาไปโดยลมจากส่วนที่เป็นโรคไปยังส่วนปกติอื่นๆ เมื่อเชื้อไปติดบริเวณโคนก้านดอกย่อยเชื้อจะเจริญผลิตสปอร์ของราสีขาวได้ภายใน 5 วัน หลังจากเชื้อเข้าไป รามีชีวิตอยู่โดยอาศัยอยู่ที่เซลล์ผิวก้านของดอก ช่อดอก ผลอ่อน ทำให้ผลแตกรูปหลายแฉก แผลบุ๋มหรือแห้งร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดโรค เช่น ซาพรอน หรืออาฟูกาน อัตรา 10-20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะแทงช่อดอกถึงติดผล

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูในมะม่วงระยะแทงช่อดอกและติดผล
1. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงในระยะช่อดอกยาว 1.27-2.54 เซนติเมตร
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงในระยะช่อดอกยืดแต่ยังไม่บาน โดยฉีดห่างครั้งแรก 7-10 วัน เมื่อดอกบานแล้วปล่อยให้แมลงช่วยผสมเกสร เมื่อติผลแล้วจึงป้องกันกำจัดแมลงและโรคต่อ
3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงหลังติดผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด พร้อมใส่ปุ๋ย
4. ถ้าไม่มีแมลงทำลายฉีดพ่นแต่สารเคมีป้องกันโรคและปุ๋ย
• ใส่ปุ๋ยทางดินถ้ามีน้ำให้ ถ้าไม่มีน้ำฉีดพ่นทางใบ
• ให้น้ำหลังจากติดผลขนาดเมล็ดถั่วเขียว ในพื้นที่มีน้ำจะช่วยให้ผลเจริญเติบโตได้ดี







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น