2. การกำจัดวัชพืชการกำจัดวัชพืชต้องทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่างๆ จะคอยแย่งน้ำและอาหารจากต้นมะม่วง และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุงรัง จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ ที่จะทำลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกำจัดวัชพืชทำได้หลายวิธี เช่น การถางด้วยจอบ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สารเคมี และการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่างๆ เป็นต้น การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละราย เช่น ถ้ามีแรงงานเพียงพอควรปลูกพืชแซม แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อยๆ หรือใช้วิธีไถพรวนดินกำจัดหญ้าอยู่เสมอ แต่ถ้ามีแรงงานพอ ควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้หลายปี
3. การใส่ปุ๋ยมะม่วงชอบดินที่โปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำและอากาศของดินดี จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้เป็นประจำทุกๆ ปี เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นมะม่วง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อาจใส่ปีละสองครั้งคือ ต้นฝน และปลายฝน ปุ๋ยอินทรีย์นี้ แม้จะมีธาตุอาหารที่พืชต้องการไม่มากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อดินในด้านอื่นๆ นอกจากจะช่วยทำให้ดินดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
- ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่ต้นพืชอย่างรวดเร็ว
และมีธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร
จึงควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง จะทำให้ต้นโตเร็วสมบูรณ์
ให้ดอกให้ผลได้มากและสม่ำเสมอ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจให้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้า
โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนี่ยมชัลเฟต 2 - 4 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นกล้าเดือนละ 2
ครั้งจะช่วยให้ต้นกล้าโตเร็ว แข็งแรง สามารถนำไปปลูกหรือใช้เป็นต้นตอได้เร็ว
และเมื่อนำต้นมะม่วงไปปลูกในแปลงจริง การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตหรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุม
ก็จะช่วยให้รากเจริญเติบโตดี
ทำให้ต้นตั้งตัวเติบโตเร็ว
ส่วนต้นมะม่วงที่โตแล้วแต่ยังไม่ให้ผล อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 4-7-5 หรือ 4-9-3 ใส่ให้แก่ต้นเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลแล้ว อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-5-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งเป็นสูตรที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาเสียก่อน เพื่อให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ไม่เกิดการสูญเปล่า เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของแต่ละท้องที่ ย่อมไม่เหมือนกัน อีกประการหนึ่ง ต้นมะม่วงเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลึกหาอาหารได้ไกลๆ ถ้าดินนั้นเป็นดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารอยู่แล้ว ก็อาจไม่ต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เลยก็ได้ การปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อยู่เสมอก็เพียงพอ
- จำนวนปุ๋ยที่ใส่ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินโปร่ง
เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จำนวนที่ใส่ไม่จำกัด
ถ้าดินทรายจัดก็ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหน่อย สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร
15-15-15 นั้น จำนวนปุ๋ยที่ใส่ขึ้นอยู่กับว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด
แต่มีหลักคิดอย่างคร่าวๆ ได้ดังนี้คือ จำนวนกิโลกรัมของปุ๋ยที่ใส่ต่อต้นต่อปี
เท่ากับครึ่งหนึ่งของอายุของต้นมะม่วง เช่น มะม่วงอายุ 2 ปีใส่ 1 กิโลกรัม อายุ 3
ปีใส่ 1.5 กิโลกรัม อายุ 8 ปี ใส่ 4 กิโลกรัม เรื่อยไป จนถึงมะม่วงอายุ 10 ปีใส่ 5
กิโลกรัม หลังจากมะม่วงอายุ 10 ปีขึ้นไปแล้วไม่ยึดหลักดังกล่าวนี้
แต่ดูจากผลผลิตมะม่วงแต่ละปี ถ้าปีที่แล้วให้ผลมาก
ก็จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นตามส่วน
และยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินด้วย
- วิธีใส่ปุ๋ย เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ควรใช้วิธีขุดพรวนดินตื้น ๆ รอบๆ ต้น ในรัศมีทรงพุ่ม แบ่งจำนวนปุ๋ยที่จะใส่ออกเป็น 4 ส่วน ใส่ปุ๋ยบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มตรงบริเวณที่พรวน ประมาณ 3 ส่วน อีก 1 ส่วนโรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ควรระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกของลำต้นเน่า และจะทำให้มะม่วงตายได้ จากนั้นจึงรดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในต้นที่โตแล้ว อาจใช้วิธีขุดเป็นรางดินรอบต้นภายในรัศมีของทรงพุ่ม ขุดรางดินลึกประมาณ 6 นิ้ว ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักลงไปในราง ตามด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนภายในบริเวณทรงพุ่มให้ขุดพรวนเพียงเล็กน้อย แล้วหว่านปุ๋ยเช่นเดียวกัน เหตุผลที่ใส่ปุ๋ยรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม เพราะรากที่หาอาหารได้แก่รากฝอย จะอยู่มากในบริเวณรัศมีทรงพุ่ม หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตาม
5. การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งกระโดงที่ขึ้นแข่งกับลำต้นทิ้งให้หมด และตัดกิ่งที่ไม่ได้ระเบียบ หรือกิ่งที่มีโรคและแมลงทำลายออกทิ้งเสีย
6. ระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งควรตัดแต่งหลังจากเก็บผลแล้ว รอยแผลที่ตัดแล้วควรใช้สารป้องกันเชื้อรา หรือปูนขาว หรือปูนกินกับหมากทา เพื่อกันแผลเน่าเนื่องจากเชื้อรา การตัดอย่าตัดไว้ตอ ควรตัดให้แผลเรียบสนิทไปกับลำต้นหรือกิ่งใหญ่
7. ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง
- เพื่อให้ต้นมะม่วงมีรูปทรงตามที่ต้องการ และเป็นผลดีต่อการปฎิบัติดูแลอื่น ๆ
- ทำให้ออกดอกติดผลดีขึ้น และผลกระจายสม่ำเสมอ เนื่องจากใบมะม่วงได้รับแสงแดดทั่วกัน อันเป็นประโยชน์ในขบวนการปรุงอาหารของใบ
- ช่วยลดการระบาดของศัตรูพืช เนื่องจากตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป
- ช่วยทำให้มีการสะสมอาหารในลำต้นได้พอดีพอเหมาะ กล่าวคือ กิ่งที่ชาวสวนตัดแต่งออกส่วนใหญ่จะเป็นกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่ม กิ่งเหล่านี้จะแย่งอาหาร และไม่ค่อยออกดอกติดผล
- ใบและกิ่งมะม่วงที่ตัดออก นำมาคลุมไว้บริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ซึ่งจะมีประโยชน์ในแง่บำรุงดินอีกด้วย หากมีกิ่งที่ตัดออกมากพอ ให้นำสุมกองไว้ระหว่างต้นมะม่วง เมื่อแห้งดีแล้วจึงจุดไฟให้เกิดควัน ประโยชน์ของควันไฟที่สุมนี้คือจะช่วยในการทำให้มะม่วงเกิดช่อดอกขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
- ลดความเสียหายจากลมพายุ พุ่มต้นแน่นทึบรับแรงปะทะมาก ทำให้กิ่งฉีกขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น