การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มะม่วง : องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สู่เศรษฐกิจ

งศ์ Anacardiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera  indica L.


ถิ่นกำเนิดมาจากเขตติดต่อระหว่างอินเดียและพม่า ปัจจุบันพบมะม่วงในตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ฮาวาย  ฟิลิปปินส์  ออสเตรเลีย  เวสอินเดีย  อาฟริกาตะวันออกและใต้  อียิปต์  และ  อิสราเอล สำหรับในประเทศไทยมะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์  มะม่วงจึงเป็นที่แข่งขันทางการตลาด  ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง เช่น รูปร่าง ลักษณะ และสีสัน  

ตัวอย่าง  เช่น  พันธุ์อาร์ทูอีทู (R2E2) ผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักประมาณ 800 กรัมต่อผล เมื่อสุกผิวผลจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อสีเหลืองมะนาว


การปลูกและการบำรุงรักษาวิธีการปลูกมะม่วง
1. การเตรียมดิน สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1.1 การปลูกมะม่วงในพื้นที่มีน้ำแฉะขัง หรือการระบายน้ำไม่ดีหรือมีระดับน้ำใต้ดินสูง ซึ่งพบในพื้นที่สูงที่เป็นพื้นที่นามาก่อน จะต้องยกร่อง ระหว่างแปลงปลูกทำเป็นร่องน้ำหรือร่องระบายน้ำ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูร้อนและระบายน้ำได้ในฤดูฝน
1.2 การปลูกมะม่วงในสภาพพื้นที่ดอน  พื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอนควรมีการเตรียมพื้นที่ให้สะอาด และจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและในกรณีที่พื้นที่มีความลาดชันสูง เช่น การทำขั้นบันไดดิน การทำคูรับน้ำขอบเขาหรือการปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น จากนั้นก็สามารถกำหนดระยะปลูกเพื่อเตรียมขุดหลุมปลูกได้

2. ระยะการปลูก
ปัจจุบันการปลูกมะม่วงมีระบบการปลูกอยู่ 2 ลักษณะคือ ระบบการปลูกชิดและระบบการปลูกห่าง ในการปลูกชิดนั้นยังไม่แนะนำเพราะเป็นการลงทุนสูงและต้องใช้แรงงานในการดูแลรักษามากกว่าการปลูกแบบห่าง ในการปลูกแบบห่างปกติแล้วมักจะใช้ระยะปลูกประมาณ 8-10 x 8-10 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ไร่ละประมาณ 16-25 ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำจะใช้ระยะปลูกถี่ เพราะมะม่วงจะโตช้า แต่ดินที่อุดมสมบูรณ์จะปลูกห่าง เพราะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันอาจปลูกให้ถี่ขึ้น โดยใช้ระยะ 4 x 6 เมตร หรือ 5 x 7 เมตร เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น

3. การขุดหลุมปลูก
เมื่อขุดหลุมแล้วนำเอาดินที่ได้จากหลุมที่ขุดนั้นมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก จำนวนที่ใส่ประมาณ 1-4 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของหลุม และควรผสมปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอีก 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม จากนั้นกลบดินลงไปในหลุมให้เต็ม

4. วิธีการปลูก
ในการปลูกนั้นเมื่อขุดหลุมเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วก็จะกลบดินที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกให้พูนสูงกว่าระดับดินเดิม 20-30 เซนติเมตร นำกิ่งพันธุ์มะม่วงมาปลูกโดยตรวจสอบว่ากิ่งพันธุ์นั้นมีรากขดกันเป็นก้อนที่เรียกว่า รากขัดสมาธิหรือไม่ ถ้ามีต้องตัดออกก่อน เพราะจะทำให้ระบบรากไม่แผ่กระจายออก ทำให้ต้นแคระแกร็น จากนั้นเจาะหลุมและนำมะม่วงต้นกล้าลงปลูกโดยให้รอยแผลของกิ่งทาบอยู่เหนือดิน ใช้ไม้รวกปักแล้วใช้เชือกมัดยึดกับลำต้นเพื่อกันลมโยก ถ้าแสงแดดจัดอาจพรางแสงด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ทางมะพร้าว โดยพรางแสงแดดทางทิศตะวันตกเพราะในช่วงบ่ายที่อุณหภูมิของวันจะสูงที่สุด สำหรับผ้าพลาสติกพันรอยทาบควรนำออกหลังจากการปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน เพื่อป้องกันรอยทาบจะแยกจากกัน เมื่อปลูกเสร็จแล้วใช้มือกลบดินบริเวณโคนกิ่งให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ดินจับแน่นกับราก สำหรับการปลูกต้นตอที่เพาะจากเมล็ดลงไปในแปลงก่อนก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่อาจจะพิถีพิถันน้อยกว่าการปลูกด้วยต้นพันธุ์ ในการปลูกต้นตอก่อนนั้นจะมีประโยชน์คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายและต้นมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง แต่จะต้องเสียเวลามาเปลี่ยนยอดพันธุ์ให้เป็นพันธุ์ดีภายหลังเมื่อต้นตั้งตัวแล้ว ปกติมักจะเปลี่ยนยอดพันธุ์หลังจากการปลูกไปแล้ว 8 เดือน

5. การให้น้ำ
ปกติแล้วการปลูกมะม่วงจะทำในฤดูฝนซึ่งสภาพอากาศชุ่มชื้น แต่ถ้าหากหลังจากปลูกไปแล้วฝนไม่ตก จำเป็นจะต้องรดน้ำทุก 2-3 วัน เมื่อมะม่วงตั้งตัวได้ก็สามารถขยายระยะการให้น้ำเป็น 3-5 วันต่อครั้ง และ 7-10 วันต่อครั้ง ตามลำดับ และเมื่อผ่านพ้นปีแรกไปแล้วอาจจะให้น้ำทุก 15-20 วัน เพื่อไม่ให้ต้นมะม่วงชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้วในสภาพพื้นที่ยกร่องจะมีปัญหาน้อยกว่าที่ดอน เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินสูง

6. การใส่ปุ๋ย
- ปุ๋ยอินทรีย์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์ ช่วยให้ดินโปร่งอากาศและน้ำซึมผ่านได้สะดวกแก้ไขดินเหนียวให้ร่วน ช่วยให้ดินทรายจับตัวกันดีขึ้น และทำให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้มากขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารทุกอย่างครบ แต่มีอยู่ในปริมาณต่ำจึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อต้นมะม่วงยิ่งขึ้น
- ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากสินแร่ในธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งปุ๋ยเหล่านี้จะให้ธาตุอาหารต่อน้ำหนักมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ปริมาณปุ๋ยที่จะให้ในแต่ละต้นคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมนั้น คำนวณได้จากอายุของต้นมะม่วงเป็นปี หารด้วยสองเท่ากับจำนวนปุ๋ยกิโลกรัมของปุ๋ย หรือใช้เส้นผ่าศูนย์กลางของพุ่มต้นมะม่วงเป็นเมตรเท่ากับจำนวนกิโลกรัมของปุ๋ยต่อต้นต่อปีก็ได้ การใส่ปุ๋ยมะม่วงในแต่ละระยะทำได้ดังนี้
- ระยะหลังตัดแต่งกิ่ง  ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 2 กิโลกรัม เพื่อให้กิ่งก้านใบที่แตกออกมามีความสมบูรณ์แข็งแรง และใส่ปุ๋ยคอก 4-5 บุ้งกี๋ร่วมเข้าไปด้วย
- ระยะก่อนหมดฤดูฝน  คือช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ต้องการให้มะม่วงหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน และเตรียมตัวสำหรับการออกดอก ระยะนี้ควรลดปริมาณปุ๋ยธาตุไนโตรเจนให้ต่ำลง ถ้าเป็นดินร่วนหรือดินทรายแนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 แต่ในดินเหนียวแนะนำให้ใช้สูตร 12-24-12 ต้นละ 2 กิโลกรัม
- ระยะก่อนออกดอก  ระยะก่อนออกดอกแต่ยังไม่แทงดอก เป็นช่วงที่บางครั้งจะมีฝนหลงฤดูหรือในบางเขตที่ฝนหมดช้า จะให้ปุ๋ยทางใบเพื่อกดไม่ให้แตกใบอ่อนอาจใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 หรือ NB. 86 ฉีดพ่นอัตรา 100-150 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้งห่างกัน 10-14 วัน
- ระยะติดผล เมื่อผลมะม่วงติดผลขนาดหัวไม้ขีดจนถึงอายุ 12 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่ผลมะม่วงมีการเจริญเติบโตของผลอย่างรวดเร็ว ถ้าติดผลดกและอาหารไม่เพียงพอ ผลจะเล็กแคระแกร็น ในระยะนี้ในแหล่งที่มีน้ำชลประทานแนะนำให้ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม แต่ในแหล่งที่ไม่มีน้ำให้ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ในอัตรา 2-3 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 5 ครั้ง
- ระยะก่อนการเก็บเกี่ยว เป็นระยะที่เมล็ดของมะม่วงมีเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็งขึ้นโดยทั่วไปเรียกว่า “เข้าไคล” อาจเพิ่มคุณภาพผลด้านความหวานิความกรอบ โดยใช้ปุ๋ยทางใบ เช่น 13-0-46 หรือ โพแทสเซี่ยมคลอไรด์ 0-0-60 อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันหนึ่งสัปดาห์ก็ได้

7. การปลิดผลและตัดแต่งก้านผล
มะม่วงมีลักษณะการออกดอกเป็นช่อ จึงมักจะมีการติดผลได้มากกว่า 1 ผลในช่อ ดังนั้นเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดีจึงต้องทำการปลิดผลให้เหลือ 1-2 ผลต่อช่อ เท่านั้น เพื่อให้ผลได้รับอาหารและแสงอย่างเต็มที่ โดยเลือกตัดเอาผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง และนอกจากนี้ยังต้องตัดแต่งเอาก้านแขนงของช่อดอกที่ไม่ติดผลออกด้วย เพราะจะเสียดสีทำให้ผิวผลไม่สวย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น