การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

การปลูกมะม่วงแก้ว

มะม่วงแก้ว เป็นที่นิยมปลูก เนื่องจากทั้งผลดิบ และผลสุกเป็นที่นิยมมาก นอกจากนั้น มะม่วงแก้วยังเป็นมะม่วงพันธุ์ที่ออกลูกดกมาก เติบโตเร็ว ต้านทานโรค และแมลงได้ดี รวมถึงสามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน
ลักษณะเด่นมะม่วงแก้ว
1. ติดลูกดก
2. เติบโตเร็ว ไม่จำเป็นต้องดูแลมาก
3. ทนแล้ง
4. ทนต่อโรค และแมลง
5. เป็นที่นิยมรับประทานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งผลสุก และผลดิบ
6. เปลือกผลสุกมีสีเหลืองสวยงาม
7. เนื้อผลดิบมีความกรอบ เนื้อหนา
8. เนื้อผลสุกเหนียว แน่น ไม่เละง่าย มีรสหวานที่พอเหมาะ
9. แปรรูปได้หลายหลาย อาทิ มะม่วงดอง มะม่วงกวน มะม่วงในน้ำเชื่อม เป็นต้น
10. ต้นทุนการปลูก และการดูแลต่ำ
ลักษณะด้อยมะม่วงแก้ว
1. มีหลายสายพันธุ์ ทำให้บางพันธุ์มีราคาต่ำ
2. ช่อดอกไม่ทนฝน
3. เมล็ดมีขนาดใหญ่
4. ลำต้นแตกทรงพุ่มกว้าง และใหญ่
รูปแบบการปลูกมะม่วงแก้ว
1. การปลูกเพื่อรับประทานเอง
การปลุกมะม่วงแก้วรูปแบบนี้ พบได้ทั่วไปในทุกภาค ซึ่งเป็นการปลุกในระดับครัวเรือน ปลูกเพียงไม่กี่ต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประทานเองหรือเพื่อให้ร่มเงา เกษตรกรมักปลูกไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้าน เพียง 1-2 ต้น หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา โดยหลังการปลูกเกษตรกรจะปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ ไม่มีการดูแลหรือเอาใจใส่มาก
2. การปลูกในแปลงใหญ่เพื่อจำหน่าย
การปลูกรูปแบบนี้ เป็นการปลูกในแปลงใหญ่ จำนวนหลายสิบต้น ตั้งแต่ 1 ไร่ จนถึงหลายสิบไร่ ซึ่งกระจายในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ โดยมีการเตรียมแปลงก่อนปลูก มีการวางระยะห่างให้เหมาะสม มีการกำจัดวัชพืช การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การห่อผล และการเก็บผลที่ถูกวิธี
ชนิดต้นพันธุ์ และลักษณะการปลูกมะม่วงแก้ว
1. ต้นพันธุ์จากกิ่งตอน โดยการตอนกิ่งจากต้นพ่อแม่พันธุ์ ก่อนนำมาเพาะต่อในถุงเพาะชำจนตั้งตัวได้ แล้วค่อยนำลงปลูกในแปลง
2. ต้นพันธุ์จากการเสียบยอด แบ่งเป็น
– การเสียบยอดในถุงเพาะชำ ด้วยการเพาะต้นตอจากเมล็ดให้ได้ขนาด ก่อนตัดกิ่งพันธุ์มาเสียบยอด หลังจากนั้นดูแลจนตั้งต้นได้ ก่อนนำลงปลูกในแปลง
– เสียบยอดในแปลงปลูก ด้วยการปลูกต้นตอที่ได้จาการเพาะเมล็ดในถุงเพาะชำปลูกลงแปลงก่อน เมื่อต้นตอตั้งตัวได้ และได้ขนาด จึงนำกิ่งพันธุ์มาเสียบยอด
การเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูก
แปลงปลูกครั้งแรกที่เคยปลูกพืชอื่นมากก่อน จำเป็นต้องไถพรวนดินก่อน 1 รอบ พร้อมกำจัดวัชพืชออกก่อน จากนั้น ทำการขุดหลุมปลูก กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกประมาณ 50 เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่างหลุม และแถวที่ 6-8 x 6-8 เมตร โดยวางแนวกว้างในทิศตะวันออก-ตะวันตก จากนั้น ตากหลุมไว้ 5-7 วัน
วิธีการปลูก
การปลูกควรปลูกในต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งต้องเตรียมแปลง และหลุมปลูกให้เสร็จก่อน และหลังจากตากหลุมจนครบกำหนดแล้ว ให้โรยก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 5 กำมือ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 1 กำมือ พร้อมเกลี่ยหน้าดินลงคลุกผสม หลังจากนั้น ฉีกถุงเพาะออก แล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบให้พูนโคนต้นขึ้นมาเล็กน้อย จากนั้น ใช้ไม้ไผ่ปักข้างลำต้น พร้อมใช้เชือกฟางรัดพอหลวมๆ
การให้น้ำ
หลังการปลูกในช่วงแรก หากฝนไม่ตกจะต้องให้น้ำอย่างน้อยวันเว้นวัน แต่หากฝนตก และหน้าดินชุ่ม ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ และในปีแรกที่ถึงช่วงหน้าแล้ง ควรให้น้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นที่เข้าระยะปีที่ 2 ควรให้น้ำบ้างในฤดูแล้ง ปีต่อไปไม่จำเป็นต้องให้น้ำ
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยระยะก่อนให้ต้นติดผล คือ 1-3 ปี ให้ใส่ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝน และครั้งที่ 2 ใส่ปลายฤดูฝน ก่อนหมดฝนประมาณ 1-2 เดือน อัตราปุ๋ยคอกประมาณ 1 ถังเล็ก/ต้น อัตราปุ๋ยเคมีประมาณ 1-2 กำมือ/ต้น และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ให้เปลี่ยนช่วงการใส่ปุ๋ยครั้งแรกเป็นก่อนการออกดอก และครั้งที่ 2 เป็นหลังการเก็บผลผลิต
การตัดดอก
มะม่วงแก้วที่ปลูกจากต้นพันธุ์ตอนหรือการเสียบยอด ควรให้ต้นมะม่วงมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปก่อน แล้วค่อยปล่อยให้ติดผล เพราะจะทำให้ต้นแตกกิ่งมาก โคนต้นแข็งแรง ดังนั้น ในระยะ 1-3 ปี หลังการปลูก หากต้นมะม่วงติดดอก ให้ตัดดอกทิ้งก่อน
การเก็บผลผลิต
หลังจากเข้าปีที่ 3 ให้ปล่อยต้นมะม่วงติดดอก และติดผลตามปกติ แล้วเก็บผลในระยะก่อนห่ามหรือสุกตามที่ตลาดต้องการหรือความต้องการจำหน่าย ซึ่งสามารถเก็บผลได้ในช่วง 3-4 เดือน หลังติดผล ประมาณปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น