• วงศ์ : Anacardiaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
• ชื่อสามัญ : Mango (Kaew variety)
• ชื่อท้องถิ่น :
กลาง และทั่วไป
– มะม่วงแก้ว
ภาคอีสาน
– มะม่วงบ้าน
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะม่วงแก้ว เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ เป็นทรงพุ่มกลม กิ่งหลัก และกิ่งแขนงมีมาก จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนา เปลือกลำต้นแตกร่องเป็นแผ่นสะเก็ด สีเปลือกลำต้นมีสีดำอมเทา
ใบมะม่วงแก้ว ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามปลายกิ่ง ใบมีก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ใบมีรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร
มะม่วงแก้ว ออกดอกเป็นช่อแขนง แทงออกบริเวณยอดกิ่ง แต่ละช่อแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก โดยเป็นดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ ซึ่งอยู่ในช่อเดียวกัน ทั้งนี้ ดอกมะม่วงแก้วจะเริ่มออกดอกประมาณเดือนมกราคม และติดผลทั่วทั้งต้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์
ผลมะม่วงแก้ว มีรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ขนาดผลประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 200 – 300 กรัม/ผล เปลือกผลบาง ประมาณ 0.12 เซนติเมตร เนื้อผลดิบค่อนข้างเหนียว มีรสเปรี้ยว และส่งกลิ่นหอม เนื้อผลสุกอ่อนนุ่ม และฉ่ำน้ำ มีเส้นใยบริเวณเปลือกด้านใน เนื้อมีรสหวานอมเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม เมื่อสุกจัดจะมีรสหวานมาก มีความหวานประมาณ 22 องศาบริกซ์ (3)
ชนิดมะม่วงแก้ว
มะม่วงแก้วดำ หรือบางพื้นที่เรียก มะม่วงแก้วแดง มีลักษณะเด่น คือ ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างป้อม และสั้น เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม พบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
มะม่วงแก้วเขียว มีลักษณะเด่น คือ ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผลด้านในมีสีขาว เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม เป็นชนิดมะม่วงแก้วที่พบมากในภาคอีสาน
มะม่วงแก้วขาว หรือบางพื้นที่เรียก มะม่วงแก้วทอง หรือ มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นมะม่วงที่นิยมมาก มีลักษณะเด่น คือ ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อมีสีเหลือง เมื่อสุกเปลือกมีสีเหลืองนวล ส่วนเนื้อมีสีเหลืองอมแดง แต่จะแดงน้อยกว่ามะม่วงแก้วดำ พบได้ในภาคกลาง บริเวณจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
มะม่วงแก้วจุก เป็นพันธุ์มะม่วงแก้วที่ได้รับความนิยมมาก มีลักษณะเด่นคล้ายกับมะม่วงแก้วขาวผสมกับแก้วดำ ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอมขาว ผลสุกมีสีเหลืองนวล ผลมีขนาดใหญ่กว่าแก้วดำหรือแก้วขาว และบริเวณขั้วผลโผล่นูนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งต่างจากพันธุ์อื่นๆที่ขั้วผลบุ๋มลงเป็นร่อง
ประโยชน์มะม่วงแก้ว
2. มะม่วงแก้วสุกมีเนื้อสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดงตามสายพันธุ์ เนื้อมีความนุ่ม และเหนียว ไม่เละง่าย มีความหวานพอเหมาะ จึงนิยมรับประทานเป็นผลไม้ รวมถึงใช้ทำขนมหวาน อาทิ ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น
3. มะม่วงแก้วดิบแปรรูปเป็นมะม่วงดอง เนื่องจากมีรสไม่เปรี้ยวมาก เนื้อมีความหนามากกว่ามะม่วงอื่นๆ
4. มะม่วงแก้วสุกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรมที่ต้องการปริมาณมากในแต่ละปี อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงเข้มข้นบรรจุกระป่อง มะม่วงอบแห้ง มะม่วงในน้ำเชื่อม และแยมมะม่วง เป็นต้น
5. ก้านยอดอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว โดยก้านยอดอ่อนมะม่วงแก้ว นำมาลอกเปลือกรับประทานเป็นผักคู่กับกับข้าวอื่นๆ รวมถึงใช้ยอดอ่อนรับประทานคู่ด้วย
6. เปลือกลำต้นด้านในนำมาต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีน้ำตาล
7. เนื้อไม้แปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับปูพื้น ปูฝ้า ทำวงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ต่างๆ
มะม่วงแก้วดิบ | มะม่วงแก้วสุก | ||
Proximates | |||
น้ำ | กรัม | 81.0 | 76.7 |
พลังงาน | กิโลแคลอรี่ | 76 | 93 |
โปรตีน | กรัม | 0.5 | 0.6 |
ไขมัน | กรัม | 0.2 | 0.1 |
คาร์โบไฮเดรต | กรัม | 18.1 | 22.4 |
เส้นใย | กรัม | 2.4 | 1.6 |
เถ้า | กรัม | 0.2 | 0.2 |
Minerals | |||
แคลเซียม | มิลลิกรัม | 14 | 34 |
ฟอสฟอรัส | มิลลิกรัม | 2 | 10 |
เหล็ก | มิลลิกรัม | พบปริมาณน้อย | พบปริมาณน้อย |
Vitamins | |||
เรตินอล | ไมโครกรัม | – | – |
เบต้า แคโรทีน | ไมโครกรัม | 219 | 1768 |
วิตามิน A, RE | RE | 37 | 295 |
วิตามิน E | มิลลิกรัม | – | – |
ไทอะมีน | มิลลิกรัม | 0.05 | 0.05 |
ไรโบฟลาวิน | มิลลิกรัม | 0.02 | 0.06 |
ไนอะซีน | มิลลิกรัม | 0.2 | 1.1 |
วิตามิน C | มิลลิกรัม | 28 | 35 |
สารอาหารอื่นๆ
– น้ำตาลซูโครส 0.73%
– น้ำตาลซูโครส 2.87%
– กรดออกซาลิก 0.00149%
– กรดซิตริก 0.02350%
– กรดมาลิค 0.05097%
– กรดมาโลนิค 0.01075%
– กรดซัคซินิค 0.09608%
– กรดฟอร์มิก 0.00523%
– กรดอะซิติก 0.00769%
– กรดฟูมาริก 0.00009%
– ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด
– ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด
– ช่วยป้องกันโรคอ้วน
– ช่วยลดการเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคมะเร็ง
– กระตุ้นการทำงานของลำไส้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น