ชื่อสามัญ : Mango Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท : ไม้ยืนต้น ลักษณะพืช : เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานผลดิบหรือผลแก่เป็นหลัก เนื่องจากผลในระยะนี้จะมีสีขาวขุ่นหรือขาวขุ่นอมครีม เนื้อแน่น มีความกรอบ และมีรสหวานมัน จนได้รับขนานนามว่า “ราชินีของมะม่วงไทย”
การเจริญเติบโตและการแตกกิ่งค่อนข้างช้า ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวงอนเล็กน้อย โดยมีส่วนหัวใหญ่หนาและเรียวลงสู่ส่วนปลาย ลักษณะของผลสีเขียว
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L. c.v.
• ชื่อสามัญ : Mango (Khiew Sawoey)
• ชื่อท้องถิ่น : มะม่วงเขียวเสวย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะม่วงเขียวเสวย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-25 ปี ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา
ใบมะม่วงเขียวเสวย ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจน
มะม่วงเขียวเสวย ออกดอกเป็นช่อแขนง ซึ่งแต่ละแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยในช่อเดียวกันจะมีดอก 2 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ซึ่งมีจำนวนมาก (91.80%) และดอกกะเทย (8.20%) ที่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้ติดผลน้อย ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวย เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ดอกมะม่วงเขียวเสวยหลังการผสมเกสรแล้ว ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรจะร่วงหล่นไปหมด คงเหลือรังไข่ที่พัฒนาเป็นผลรูปไข่ขนาดเล็ก และจานดอกที่เหี่ยวแห้งติดด้านล่างผล
ผลมะม่วงเขียวเสวย มีลักษณะรียาว และแบนเล็กน้อย บริเวณขั้วผลมีขนาดใหญ่ และค่อยเล็กลงไปด้านท้ายด้านหลังผลมีลักษณะนูนออก และด้านหน้าผลคอดเล็กลง ขนาดผลกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 300-335 กรัม ผลมะม่วงเขียวเสวย เมื่อยังอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อผลมีสีขาว และมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่ เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล ส่วนเนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุก เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย
ประโยชน์มะม่วงเขียวเสวย
2. มะม่วงเขียวเสวยสุก มีเนื้อสีเหลืองทองนิยมใช้ทำข้าวเหนียวมะม่วง
3. มะม่วงเขียวเสวยสุก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงแผ่น เป็นต้น
4. ก้านยอดอ่อนหรือยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่นๆ
5. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ผ้าที่ย้อมได้สีน้ำตาล
6. เนื้อไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ รวมถึงใช้เป็นท่อนไม้สำหรับการเพาะเห็ด
มะม่วงเขียวเสวยดิบ | มะม่วงเขียวเสวยสุก | ||
Proximates | |||
น้ำ | กรัม | 78.5 | 80.2 |
พลังงาน | กิโลแคลอรี่ | 87 | 82 |
โปรตีน | กรัม | 0.7 | 0.5 |
ไขมัน | กรัม | 0.4 | 0.8 |
คาร์โบไฮเดรต | กรัม | 20.1 | 18.2 |
เส้นใย | กรัม | – | – |
เถ้า | กรัม | 0.3 | 0.3 |
Minerals | |||
แคลเซียม | มิลลิกรัม | – | – |
ฟอสฟอรัส | มิลลิกรัม | – | – |
เหล็ก | มิลลิกรัม | – | – |
Vitamins | |||
เรตินอล | ไมโครกรัม | – | – |
เบต้า แคโรทีน | ไมโครกรัม | – | – |
วิตามิน A, RE | RE | – | – |
วิตามิน E | มิลลิกรัม | – | – |
ไทอะมีน | มิลลิกรัม | 0.02 | 0.03 |
ไรโบฟลาวิน | มิลลิกรัม | 0.03 | 0.05 |
ไนอะซีน | มิลลิกรัม | – | – |
วิตามิน C | มิลลิกรัม | 31 | 25 |
สาระสำคัญที่พบ
– friedelin
– mangiferin
– catechin
– cycloartenol
– mangiferin
– isomangiferin
– methylchinomin
– quercetin
สรรพคุณมะม่วงเขียวเสวย
– ต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
– ป้องกันโรคเบาหวาน
– ป้องกันโรคหัวใจ
– ป้องกันโรคมะเร็ง
– กระตุ้นการถ่าย
– กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยการทดลองใช้สารสกัดหยาบจากใบมะม่วงเขียวเสวย โดยการผสมในอาหารให้แก่กุ้งกุลาดำ พบว่า สารสกัดหยาบจากใบมะม่วงเขียวเสวยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของแก่กุ้งได้
– ใบมะม่วงเขียวเสวยนำมาตากแห้ง และบดเป็นผงสำหรับใช้ต้มดื่มหรือรับประทาน ช่วยแก้โรคท้องร่วง
– ผงใบมะม่วงช่วยแก้โรคเบาหวาน
– ช่วยบรรเทาอาหารไอ
– แก้โรคหอบหืด
– แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก
– ช่วยแก้ไข้ ตัวร้อน
– รักษากามโรคต่างๆ
– รักษาแผลในจมูก
– แก้อาการท้องเดิน
– ช่วยรักษาฝี
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
Isomangiferin, a natural product, has antiviral effect due to their capability of inhibiting virus replication within cells. Isomangiferin
ตอบลบ