การปลูกม่วงให้ได้ผลผลิตดีมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1. ดิน มะม่วงเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับดินประเภทต่างๆ ได้ดีกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆ แต่ดินนั้นต้องเป็นดินที่หน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดีและเป็นดินร่วน จนถึงดินเลวที่มีแต่หิน กรวด ทราย ในแหล่งปลูกบางแห่งที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงมากมะม่วงก็สามารถติดผลได้ดี ความลึกของหน้าดิน และระดับน้ำในดินจะเป็นสิ่งที่บังคับการเจริญเติบโตของรากและต้นมะม่วง ถ้าระดับความลึกของหน้าดินน้อย มีดินดานอยู่ข้างล่าง หรือดินปลูกมีระดับน้ำใต้ดินตื้น รากมะม่วงหยั่งลึกลงในดินไม่ได้ ทำให้ต้นไม่โตเท่าที่ควร โคนล้มได้ง่าย ส่วนดินที่มีระดับน้ำใต้ดินลึกๆ ในฤดูแล้งมะม่วงจะเจริญได้ดี เพราะมะม่วงสามารถหยั่งรากไปในดินลึก ๆ เพื่อหาน้ำได้แต่ต้องเป็นมะม่วงที่ปลูกจากเมล็ดหรือกิ่งทาบไม่เหมาะสำหรับมะม่วงกิ่งตอน ความเป็นกรดเป็นด่างเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ดินที่มีหินปูนมากจะทำให้มะม่วงโตช้า ส่วนในดินที่เป็นด่างจัดจะทำให้ต้นอ่อนตายง่าย ดินที่มะม่วงขึ้นได้ดีที่สุด เจริญงอกงามและได้ผลเร็ว คือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุพอสมควร มีหน้าดินลึกอย่างน้อย 2 เมตร มีความอุดมสมบูณ์สูง มีธาตุอาหารของพืชเพียงพอ มีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-7.5 มีการระบายน้ำดี และมีระดับน้ำใต้ดิน ต่ำกว่า 1.8 เมตร |
2. น้ำ
การให้น้ำมะม่วงควรคำนึงถึง การกระจายของราก อายุของต้น โครงสร้างของดิน ความต้องการใช้น้ำของมะม่วงในระยะต่างๆ และสภาพดินฟ้าอากาศเข้ามาพิจารณาด้วย มะม่วงที่อายุยังน้อยหรือยังไม่ติดผลต้องการน้ำน้อยกว่ามะม่วงอายุมากหรือติดผลแล้ว เนื่องจากมะม่วงอายุน้อยนั้นรากยังพัฒนาไม่เต็มที่ รากจึงดูดน้ำได้น้อยกว่ามะม่วงอายุมาก ในแหล่งที่มีระบบน้ำใต้ดินอยู่สูง จำเป็นต้องยกร่องให้สูงขึ้น และควรมีแหล่งน้ำที่ดีพอที่จะเก็บกักน้ำไว้ในช่วงที่จำเป็น เช่น ในช่วงที่มะม่วงออกดอกและติดผล เป็นต้น |
3. อุณหภูมิปกติมะม่วงชอบอากาศร้อนและทนอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงและต่ำแตกต่างกันไป ทำให้มะม่วงมีการออกดอกและผลแตกต่างกันออกไป เช่น มะม่วงที่ปลูกแถบภาคกลางตอนล่าง ในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี เพชรบุรี จะเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม ในขณะที่มะม่วงที่ปลูกแถบภาคเหนือตอนบนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่อนสอน จะเก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤษภาคม
ในบางฤดูหากมีเมฆหมอกมากจะทำให้ผลร่วง ถ้ามีน้ำค้างมาก หมอกหนา จะทำให้ดอกร่วง ผลเสียหาย เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดี เข้าทำลายผลมะม่วงได้มากขึ้น ในมะม่วงที่ติดผลแล้วจะทำให้ผลร่วง บริเวณที่มีลมพัดแรงอาจจะต้องปลูกต้นไม้บังกระแสลมไว้ด้วย |
4. ฤดูกาลปลูกมะม่วงสามารถปลูกได้ทุกๆ ฤดูกาล แต่ถ้าปลูกบริเวณป่าเขา ไม่มีแหล่งน้ำ ก็จำเป็นต้องปลูกต้นหรือกลางฤดูฝน ถ้าปลูกในบริเวณที่มีแหล่งน้ำควรปลูกในฤดูแล้ง เพราะจะช่วยให้ทำงานสะดวกและควบคุมปริมาณน้ำได้ ในฤดูแล้งมะม่วงจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าฤดูอื่น การปลูกมะม่วงฤดูฝนทำให้ควบคุมปริมาณน้ำได้ลำบาก เพราะถ้ามีน้ำขังในหลุม หรือระดับน้ำใต้ดินมีมากเกินไป มะม่วงอาจจะตายได้
|
การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ
การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง
ทำความรู้จักมะม่วง
มะม่วงมีกี่ชนิด
สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน
1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น
- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว
- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว
- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน
2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น
- มะม่วงน้ำดอกไม้
- มะม่วงอกร่อง
3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น
- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม
สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มมะม่วงในฤดู
1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่
- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด
- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก
- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท
- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก
- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม
- นาทับ เวลาสุก เนื้อจะละเอียด เหนียว แน่นไม่เละ ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ
มะม่วงอกร่อง
- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น
- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก
- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล
ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้
- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน
- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม
- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก
- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ
เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน
2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่
- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน
- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน
- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ
เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน
- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด
- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน
- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม
- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี
- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก
- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ
- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ
- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ
3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่
- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก
- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน
- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม
เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม
- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล
ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม
4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ
5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่
- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ
จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์
- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด
- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน
เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย
- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ
กลุ่มมะม่วงนอกฤดู
1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่
- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด
- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก
- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน
- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน
- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง
- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม
- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ
- น้ำดอกไม้ลำผักชี
- น้ำดอกไม้นายตำรวจ
- น้ำดอกไม้หมอไมตรี
- น้ำดอกไม้สีม่วง
- เทพนิมิต
2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่
- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน
- ไอยเรศ
- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน
- กำแพงแสน
- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ
- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย
- เหลืองประเสริฐ
- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน
- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม
- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง
- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น