การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ

การส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ลูกค้าได้รับ












































การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

การฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจริง

ทำความรู้จักมะม่วง

มะม่วงมีกี่ชนิด

มะม่วง เป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ในประเทศไทยมีมะม่วงมากกว่า 170 สายพันธุ์ แตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะ และรสชาติ จนผู้บริโภคเลือกแทบจะไม่ถูกว่าจะรับประทานพันธุ์ไหน สุกแค่ไหน ให้อร่อย

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับผู้บริโภค ด้วยสายพันธุ์ที่หลากหลาย เราจึงแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 ประเภท ตามความนิยมในการรับประทาน

1. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ คือ มีรสหวาน มัน แต่พอสุกจะมีรสหวานชืด ไม่อร่อย หรือบางสายพันธุ์มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน เช่น

- มะม่วงเขียวเสวย รสมันอมเปรี้ยว

- มะม่วงแรด รสชาติอมเปรี้ยว

- มะม่วงฟ้าลั่น มีรสมัน

2. สายพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก คือ มีรสเปรี้ยวตอนที่ยังดิบ แต่เมื่อสุกแล้วเนื้อมะม่วงจะเหลือง หวาน อร่อย นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน เช่น

- มะม่วงน้ำดอกไม้

- มะม่วงอกร่อง

3. สายพันธุ์ที่นิยมนำมาแปรรูป คือ เมื่อแก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น มะม่วงดอง มะม่วงกวน และอื่นๆ เช่น

- มะม่วงแก้ว หรือที่เรียกกันว่า ‘มะม่วงอุตสาหกรรม

สายพันธุ์ มะม่วง สำหรับเกษตรกร : แบ่งมะม่วงออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มมะม่วงในฤดู

1. มะม่วงในฤดูรับประทานสุก ได้แก่

- อกร่องทอง มีร่องตื้น ตรงกลางด้านหน้าผล เป็นมะม่วงอกร่องที่กลายพันธุ์มาจากอกร่องเขียว แต่มีลักษณะคล้ายกับอกร่องเขียว แตกต่างจากอกร่องเขียวที่ขนาดผลใหญ่กว่า และผลดิบมีสีเขียวอ่อน เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่มีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อผลละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก และหวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด

- อกร่องเขียว เป็นมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม ผลดิบมีสีเขียวอ่อน และมีนวล เนื้อผลมีสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่หรือผลห่ามมีรสเปรี้ยวอมหวาน ผลสุกมีสีเปลือกเขียวอ่อน มีเสี้ยนเล็กน้อย มีรสหวานมาก

- อกร่องไทรโยค เป็นมะม่วงอกร่องที่มีกลิ่นหอมนาน หวานสนิท

- อกร่องพิกุลทอง ผลใหญ่กว่าอกร่องปกติสามเท่า รสชาติก็ธรรมดา ไม่เป็นที่นิยมนัก

- พิมเสนแดง ผลสุกจะมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก โดยเฉพาะกลิ่นจะหอมชื่นใจคล้ายกับกลิ่นหอมของมะม่วงมหาชนก แต่จะมีความหวานเย็นมากกว่า ส่วนสีของผลสุกจะเป็นสีแดงอมส้มสวยงาม

- นาทับ เวลาสุกเนื้อจะละเอียด เหนียวแน่นไม่เละไม่มีเสี้ยนรสชาติหวานหอมคล้ายเนื้อ

มะม่วงอกร่อง

- แก้วลืมรัง ผลไม่ใหญ่ เรียวยาว มน แบนนิดๆ ปลายผลเรียวงอนิดๆ ผลสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

- หนังกลางวัน (มะม่วงงาช้าง) ผลใหญ่ รสชาติหวานหอมอ่อนๆ รสไม่จัด เนื้อเหนียวแน่น เนื้อมากเมล็ดบาง เป็นมะม่วงนิยมส่งออก

- ยายกล่ำ ผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวาน ไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ผล

ดิบรสเปรี้ยวจัดใช้คั้นน้ำปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวได้

- ทองดำ ผลสุก เปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีส้ม รสชาติหวานมัน

- แรด ผลสุกจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

- การะเกด ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอม ไม่มีเสี้ยน เนื้อเยอะไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ ส่วนผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก

- หมอนทอง มีขนาดลูกที่ใหญ่มาก บางลูกหนักเป็นกิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย เมล็ดลีบ

เปลือกบาง กลิ่นหอม รสหวาน

2. มะม่วงในฤดูรับประทานดิบ ได้แก่

- เขียวเสวย ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผิวเปลือกจะออกสีนวล เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน

- หนองแซง ผลดิบ มีรสชาติ มัน ตั้งแต่ลูกยังเล็ก หวานกรอบ ผลแก่ มีรสชาติ มัน หวานกรอบ ผลสุก มีรสชาติ หวาน

- แก้ว ผลดิบมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทอง หรือ

เหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน

- แห้ว สายพันธุ์เบา แตกใบรูปเหมือนคันร่มหรือทรงฉัตร ลูกเล็กรสจืด

- มันค่อม ผลดิบสีเขียว ห่ามสีเขียวอมเหลือง รสชาติมันกรอบปนหวาน

- สายฝน รสมันไม่เปรี้ยวแม้ผลยังเล็ก ลักษณะผลคล้ายมะม่วงแก้ว มีกลิ่นหอม

- เจ้าคุณทิพย์ เป็นมะม่วงมัน รสชาติดี

- สวนทิพย์พระยาเสวย (อีหมู) เป็นมะม่วงมันตั้งแต่ยังเล็ก

- ฝรั่งตกตึก มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองทอง กรอบ อร่อย อมเปรี้ยวนิดๆ

- ฟ้าลั่น รสชาติมัน กรอบ

- มันขุนศรี ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ

3. มะม่วงแปรรูป ได้แก่

- แก้ว 007 ผลใหญ่ เนื้อหนาแน่น เหมาะทั้งการนำมาแปรรูป รับประทานดิบ และสุก

- พิมเสนสามปี รสชาติจะเปรี้่ยวหวาน เนื้อมะม่วงสีเหลือง มีเสี้ยน

- แก้วแดง เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวเข้ม และมีจุดประสีขาว เมื่อห่ามมีสีเขียวอม

เหลือง ส่วนผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง เนื้อด้านในมีมีสีแดงหรือแดงเข้ม

- แก้วเขียว เนื้อผลหนา ผลดิบมีเปลือกสีเขียวอ่อน คล้ายกับสีของมะม่วงอกร่อง ส่วนเนื้อผล

ด้านในมีสีขาว กรอบ มัน เมื่อสุก เปลือกผลมีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม

4. มะม่วงประกอบอาหาร ได้แก่ พันธุ์เบาปักษ์ใต้ มะม่วงกินสุกที่มีรสเปรี้ยว มะม่วงประกอบอาหารในที่นี้ ได้แก่ มะม่วงที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการยำ

5. มะม่วงพันธุ์ต่างๆ ได้แก่

- อาร์ทูอีทู ออกผลตามฤดูกาล ติดผลดกมาก รูปทรงผลกลม คล้ายผลแอปเปิ้ล ผลดิบ เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมชมพูเป็นสีเหลืองอมแดงสวยงามสะดุดตา เมื่อสุกมีกลิ่นหอม รสชาติรสหวานอ่อน เนื้อละเอียดเนียน สีเหลืองส้มไม่มีเสี้ยน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

- มหาชนก มะม่วงมหาชนกมีลักษณะสีผิวสวย เมื่อดิบสีผิวเขียวเรียบเนียน ส่วนรสชาติ

จะเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่จะมีสีเขียวอมแดง และเมื่อสุกจัดจะมีสีเหลืองทองอมส้มหรือสีแดงแก้มแหม่ม เนื้อแน่น แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

- งามเมืองย่า ผลดิบ เนื้อหนา ละเอียด กรอบ ไม่มีเสี้ยน รสชาติมันหวานปนเปรี้ยว เนื้อสุกแน่น กลิ่นหอม ไม่หวานจัด

- ทอมมี่แอทกินส์ ผิวสีชมพู เนื้อหนาหยาบ มีกากใยมาก ผลดิบมีรสเปรี้ยวนิดๆ ผลสุกรสหวาน ผลกลมแต่เล็กกว่า อาร์ทูอีทู แต่มีกลิ่นยางแรง คล้ายกลิ่นขี้ใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

- ฮารูมานิส ผลใหญ่ มีรสหวาน นิยมรับประทานสด หรือคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม มีสีเหลืองอ่อนปน

เขียว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย

- เคียตท์ ผิวสีเขียวเรื่อแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาฯลฯ

กลุ่มมะม่วงนอกฤดู

1. มะม่วงนอกฤดูรับประทานสุก (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- ศรีสยาม รสหวาน เนื้อสีเหลืองสด

- สามฤดู ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง เนื้อเป็นสีเหลือง แน่นเหนียวไม่เละ มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก

- เขียวเสวย ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน

- โชคอนันต์ เนื้อหนา แน่น ผลสุกจะหวาน

- น้ำดอกไม้สีทอง กลิ่นหอม รสหวานอร่อย เสี้ยนน้อย เมล็ดบาง

- อกร่องพิกุล (นวลจันทร์) เนื้อแน่น กลิ่นหอมไม่มีเสี้ยน รสหวานอร่อย ผลแก่จัดและผลสุกผิวเปลือกสีเหลืองอมส้ม

- น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีรูปทรงของผลสวยงาม ผลมีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รสชาติผลสุกหวานหอมอร่อยมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหอมชื่นใจมาก รสชาติผลดิบเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ

- น้ำดอกไม้ลำผักชี

- น้ำดอกไม้นายตำรวจ

- น้ำดอกไม้หมอไมตรี

- น้ำดอกไม้สีม่วง

- เทพนิมิต

2. มะม่วงนอกฤดูรับประทานดิบ (สายพันธุ์ธรรมชาติ) ได้แก่

- มันบ่อปลา (มันเมืองสิงห์) รสชาติมัน

- ไอยเรศ

- มันทวาย ผลแก่รสชาติมัน ผลสุกรสชาติหวาน

- กำแพงแสน

- ศาลายา (ทูลถวาย) รสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว กรอบ ฉ่ำน้ำ

- พิมเสนมันทวาย ผลโตปานกลาง ผลดิบสีเขียวอมเหลือง รสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อผลสุกสีเหลืองเข้ม รสหวานอร่อย

- เหลืองประเสริฐ

- เขียวเสวยสายพันธุ์รจนา รสชาติมันอร่อยกว่าเขียวเสวยธรรมดา แต่ลูกเล็กกว่าหัวมนปลายแหลม ผิวมัน

- มันเดือนเก้า รสชาติมันอมเปรี้ยว ผลแก่มักนำมาแช่อิ่ม

- เพชรบ้านลาด รสชาติมันอร่อย มีกลิ่นหอมยาง

- มันทูลเกล้า รสชาติมัน กรอบ




กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา

กิ่งพันธุ์มะม่วงของสวนเรา































วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

วิธีการปลูกต้นมะม่วง

วิธีการปลูกต้นมะม่วง
ต้นมะม่วงเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ดและทำการดูแลได้ง่ายที่สุด ขนาดและรสชาติของผลมันจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่คุณเลือกนำมาปลูก ฉะนั้นเพื่อให้มั่นใจในการเลือกประเภทของมะม่วง ให้ใช้สายพันธุ์ที่คุณเคยชิมและอยากนำมันมาปลูกนั่นแหละ คุณจะปลูกมะม่วงให้เป็นต้นเล็กๆ ในกระถาง หรือจะปลูกบนพื้นดินเพื่อมะม่วงต้นใหญ่ก็ย่อมได้ อีกอย่างหนึ่ง คุณจะได้ลิ้มรสชุ่มฉ่ำและแปลกใหม่ของผลไม้ชนิดนี้ได้ตลอดปีเลยล่ะ!

การเพาะเมล็ด
1.  หาต้นมะม่วงแม่พันธุ์  วิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้เมล็ดที่สามารถนำมาปลูกในบริเวณที่คุณอยู่อาศัยได้ คือการหาต้นแม่พันธุ์มะม่วงในบริเวณใกล้เคียง ต้นมะม่วงที่อยู่ใกล้ๆ ที่ให้ผลรสชาติดี ก็ย่อมให้เมล็ดสายพันธุ์ที่เข้ากับสภาพอากาศที่คุณอยู่ด้วยเช่นกัน หากคุณอาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่น และมีฤดูหนาวที่อ่อนโยน ก็จะสามารถหาต้นมะม่วงที่สมบูรณ์ในบริเวณพื้นที่ที่คุณอยู่อาศัยได้

1.1  ถ้าคุณหาต้นมะม่วงแม่พันธุ์ไม่ได้ ก็ให้สั่งซื้อเมล็ดหรือไปซื้อตามร้านค้ามาแทน โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลือกสายพันธุ์ที่สามารถเติบโตในพื้นที่ที่คุณอยู่อาศัยได้ดี

1.2  คุณจะลองปลูกต้นมะม่วงที่ซื้อเมล็ดพันธุ์มาจากร้านค้าก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตาม มันอาจยากกว่ามากในการที่จะแน่ใจได้ว่าเมล็ดพันธุ์นี้จะมีโอกาสอยู่รอดในสภาพอากาศที่คุณอยู่ได้ โดยเฉพาะถ้าร้านค้าที่คุณไปซื้อมา ได้นำเข้ามะม่วงมาจากจังหวัดหรือประเทศอื่น แต่อย่างไรการได้ลองมันก็คุ้มอยู่ดีล่ะนะ!

2.  ตรวจสอบเมล็ดดูว่ามันปลูกได้หรือไม่  หั่นเนื้อมะม่วงออกเพื่อหาเปลือกนอกของเมล็ดมะม่วงที่อยู่ภายใน เมล็ดที่สมบูรณ์จะเป็นสีแทนและดูสดใหม่ หากเมล็ดมันเหี่ยวแห้งและกลายเป็นสีเทาเพราะได้รับอากาศที่หนาวเย็น ก็จะไม่สามารถใช้ปลูกได้

1.1  หั่นแก้มทั้งสองด้านออกให้ใกล้กับเมล็ดที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการจับแก้มมะม่วงไว้ด้วยฝ่ามือ แล้วค่อยๆ ทำรอยบนแก้มด้านข้างทั้งสองด้าน ประมาณ 2 ซม. ในแต่ละด้าน จากนั้นหมุนแก้มมะม่วงขึ้นแล้วหั่นเนื้อเป็นทรงลูกเต๋า จากนั้นกินเนื้อมัน หรือใช้ช้อนแงะออกลงในชามก็ได้

1.2  คุณอาจต้องใส่ถุงมือขณะที่จับเมล็ดมันอยู่ก็ได้ เพราะเมล็ดมะม่วงนั้นมียางที่อาจส่งผลให้ผิวระคายเคืองได้นั่นเอง

3.  เลือกวิธีในการเตรียมเมล็ดพันธุ์  คุณสามารถใช้ทั้งวิธีแบบแห้ง หรือแบบเปียก ได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

เตรียมเมล็ดแบบแห้ง
1.  ทำเมล็ดมะม่วงให้แห้งด้วยทิชชู่  วางเมล็ดไว้ในที่ที่แห้ง แดดส่องถึง และมีลมพัดผ่านประมาณ 3 อาทิตย์ หลังจากนั้นให้พยายามแกะเมล็ดออกให้ได้ด้วยมือเดียว โดยพยายามไม่ไถลจากตรงกลางของเมล็ด กล่าวคือแยกมันออกมาเป็นสองส่วน จากนั้นให้ทิ้งไว้อีกสักอาทิตย์หนึ่ง
2.  ใส่ปุ๋ยและดินที่ระบายน้ำได้ดีลงในภาชนะ  ขุดหลุมขนาดเล็กให้ลึกลงประมาณ 20 ซม. แล้ววางเมล็ดลงไปตรงกลาง จากนั้นให้กดเมล็ดลงไป
3.  ดน้ำให้ชุ่ม และคอยรดทุกวันหรือวันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับดินที่ใช้   หลังจากผ่านไปราว 4 ถึง 6 สัปดาห์ ต้นอ่อนมะม่วงจะเริ่มขึ้นมาสูงประมาณ 100 มิลลิเมตร ถึง 200 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมะม่วงที่คุณเพิ่งกินไป มันอาจเป็นสีม่วงเข้ม เกือบดำ หรือเป็นสีเขียวสว่างเลยก็เป็นได้
4.  ปลูกต้นอ่อนให้ได้ขนาดที่จะสร้างระบบรากออกมาอย่างสมบูรณ์และสุขภาพดี  จากนั้นก็พร้อมที่จะปลูกในสวนแล้วล่ะ

เตรียมเมล็ดด้วยการแช่ให้เปียก
คุณสามารถใช้วิธีนี้แทนที่จะใช้วิธีแบบแห้งก็ได้ หากต้องการ
1.  บากเมล็ดมะม่วง  ในการ”บาก”นั้น ให้ทำโดยการขัดถูภายนอกของเมล็ด ซึ่งจะทำให้เมล็ดมะม่วงเพาะต้นอ่อนออกมาได้ง่ายขึ้น ให้ทำรอยหั่นบนเมล็ดมะม่วงเล็กๆ อย่างระมัดระวัง หรือขัดเปลือกนอกของเมล็ดด้วยกระดาษทรายหรือฝอยขัดหม้อ โดยทำเพียงเพื่อเจาะเปลือกนอกของเมล็ดเท่านั้น
2.  แช่เมล็ดมะม่วง  ใส่เมล็ดมะม่วงลงไปในโหลน้ำเล็กๆ แล้วนำโหลไปวางไว้ที่อุ่นๆ อย่างชั้นวางจานหรือชั้นวางของ โดยแช่เมล็ดไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
3.  นำเมล็ดออกจากโหลแล้วห่อด้วยทิชชู่ชุ่มน้ำ  จากนั้นนำเมล็ดที่ถูกห่อหุ้มไปใส่ไว้ในถุงพลาสติกที่ตัดมุมออกด้านหนึ่ง คอยให้ทิชชู่มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาและรอจนกว่าเมล็ดจะงอกต้นออกมา โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 อาทิตย์ ขอให้แน่ใจว่าได้เก็บเมล็ดมะม่วงไว้ในที่อุ่นและชื้นเพื่อให้เมล็ดเพาะต้นอ่อนออกมาได้
4.  เตรียมกระถางสำหรับต้นอ่อน  ให้ต้นกล้าของคุณได้เริ่มเติบโตขึ้นในกระถาง โดยเลือกกระถางใบใหญ่พอที่จะใส่เมล็ดและดินปลูกกับปุ๋ยลงไปได้ คุณสามารถที่จะปลูกเมล็ดลงไปในดินเลยก็ได้ แต่การปลูกในกระถางก่อนนั้นจะช่วยควบคุมการอุณหภูมิในขณะที่อยู่ในช่วงก่อนที่จะเจริญเติบโตที่เมล็ดจะอ่อนแอเป็นพิเศษ
5.  ให้แสงอาทิตย์กับต้นอ่อน  วางกระถางที่ปลูกไว้ข้างนอกให้ถูกกับแสงแดดรำไร ซึ่งจะช่วยให้ต้นอ่อนคุ้นเคยกับแสงอาทิตย์ หรือให้แสงแดดจ้าๆ ไป ก่อนที่จะย้ายต้นไปยังที่ที่จะปลูกเป็นที่สุดท้ายแล้วค่อยให้รับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่

การปลูกต้นกล้า
1.  ย้ายต้นอ่อนไปปลูกไว้ใต้แสงอาทิตย์เต็มๆ  เลือกบริเวณที่แสงอาทิตย์ส่องลงมาได้พอดีเพื่อปลูกมะม่วง ขอให้เป็นที่ที่คุณต้องการปลูกให้มันโตขึ้นเป็นต้นไม้ใหญ่จริงๆ เพราะว่าต้นมันค่อนข้างใหญ่ได้เรื่องเลยล่ะ!
1.1  เมื่อจะย้ายไปปลูกยังที่สุดท้าย ให้หาบริเวณแถวสวนหลังบ้านที่มีการระบายน้ำได้ดี และขอให้นึกถึงอนาคตไว้ด้วย ต้องเป็นบริเวณที่จะไม่มีตึกรามบ้านช่อง, การประปาใต้ดิน หรือสายไฟมารบกวน
1.2  ให้ย้ายต้นกล้ารากเมื่อรากของมันเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว ความหนาของลำต้นควรอยู่ที่ประมาณ 5 ซม. หรือ 2.5 นิ้ว
1.3  คุณสามารถปลูกต้นมะม่วงต่อไว้ในกระถางได้ถ้าหากอยากให้มันเป็นต้นเล็กๆ และจัดการได้ง่าย ซึ่งเป็นความคิดที่ดีเมื่อคุณอาศัยอยู่ในบริเวณที่อากาศหนาวเย็น คุณจะได้สามารถนำกระถางมาไว้ในบ้านเมื่ออุณหภูมิลดลงได้

2.  ปลูกต้นกล้า  ขุดหลุมให้ใหญ่พอเท่ากับตุ้มราก (ก้อนรากและดินที่ติดผสมกัน) ของต้นอ่อนมะม่วง โดยควรใหญ่กว่าตุ้มรากถึง 3 เท่า ใส่ดินปลูกมีคุณภาพลงไป 1 ส่วน, ทรายถมปรับหน้าดิน 1 ส่วน (ห้ามใช้ดินอิฐ), และที่เหลือก็ให้ใส่ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุม จากนั้นให้ใส่เมล็ดลงไปในหลุมแล้วตบๆ ดินให้แน่นที่ฐานของต้นไม้ จากนั้นรดน้ำให้ทั่ว
2.1  ระวังเป็นพิเศษ อย่าทำให้ต้นกล้าเกิดความเสียหายขณะที่คุณกำลังย้ายที่ปลูกให้มัน
2.2  คอยให้ฐานของต้นมะม่วงสะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกิดรอยบากรูปวงแหวน (Ring barking) ที่จะขึ้นมาบนต้นอ่อนของคุณ

3.  รดน้ำสม่ำเสมอและใส่ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น. ใช้เวลาอย่างน้อย 4 ถึง 5 ปีจนกว่าต้นมะม่วงจะออกผล มันอาจช้ากว่าจะเติบโตอย่างสมบูรณ์ แต่ก็คุ้มค่าที่จะรอนะ
3.1  ห้ามใส่ปุ๋ยมากเกินไปเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นมันจะไปหนักที่การเจริญเติบโตทางใบมากกว่าการออกผล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น